ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นำจิตอาสาเร่งจัดเก็บเศษซากกระทง กว่า 30 ตัน ภายหลังเสร็จสิ้นเทศกาลยี่เป็งเมืองเชียงใหม่ คืนน้ำใสให้ลำน้ำแม่ปิง
วันที่ 10 พ.ย. 65 เวลา 09.00 น. ที่ประตูระบายน้ำป่าแดดด ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์การทำความสะอาดเก็บกระทง ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ภายใต้โครงการ “เมืองสะอาด คนในชาติมีสุข” โดยมีนายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ นำผู้บริหารและเจ้าหน้าที่โครงการชลประทานเชียงใหม่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารมณฑลทหารบกที่ 33 เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลป่าแดด เทศบาลนครเชียงใหม่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มพลังจิตอาสา เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้จัดขึ้นภายหลังจากการจัดงานเทศกาลยี่เป็งเมืองเชียงใหม่ ซึ่งได้จัดขึ้นในห้วงระหว่างวันที่ 7 – 9 พ.ย. 2565 โดยภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม จะมีกระทง รวมถึงเศษวัชพืช สิ่งปฏิกูลต่างๆ ลอยมากับน้ำในลำน้ำแม่ปิง การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้จัดทำโครงการกิจกรรมกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลจากงานลอยกระทง โดยมีหน่วยงานจากทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมให้เกิดความสะอาดและสวยงามในลำน้ำปิง กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำให้น้ำปิงไหลสะดวกไม่เกิดการเน่าเสีย สามารถใช้เป็นแหล่งน้ำดิบ ผลิตน้ำประปาให้ประชาชนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างวินัยการทิ้งขยะ การคัดแยกขยะให้แก่ประชาชนในพื้นที่
นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า กิจกรรมยี่เป็งเชียงใหม่ที่จัดขึ้น ประกอบกับมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาเป็นจำนวนมาก ดูจากสายการบินที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่เต็มทุกเที่ยวบิน ส่งผลให้เศษซากกระทงในปีนี้มีสูง 25 – 40 ตัน กิจกรรมในวันนี้เป็นการคืนน้ำใสให้กับลำน้ำแม่ปิง จึงได้มีการจัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อจัดเก็บกระทง ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการจัดเก็บประมาณ 2 – 3 วัน
นายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ กล่าวว่า จำนวนกระทงในปี 62 มีประมาณ 50 ตัน ปี 63 จำนน 23 ตัน ปี 64 จำนวน 20 ตัน และปี 65 นี้คาดว่าจะมี 25 – 30 ตัน ซึ่งก่อนปี 62 นั้น ช่วงปี 60 มีจำนวน 120 ตัน ปี 61 จำนวน 70 ตัน ต่อมาได้มีการรณรงค์ 1 กระทง 1 ครอบครัว 1 คู่รัก ทำให้จำนวนกระทงมีจำนวนลดน้อยลง และกระทงทุกใบที่ลอยจากในเขตเทศบาลจะลอยมาติดที่ประตูระบายน้ำป่าแดด ซึ่งจำนวนกระทงในปีนี้คงมีมากขึ้นเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมามากขึ้น ซึ่งจากการสุ่มตรวจกระทง จำนวน 1 ตารางเมตร มีจำนวนประมาณ 40 กระทง น้ำหนักประมาณ 17 – 18 กิโลกรัม ในปี 65 นี้ ที่ได้เริ่มมีกิจกรรมลอยกระทง จำนวน 3 วัน จำนวนกระทงกว่า 30 ตัน
การจัดกิจกรรมจิตอาสาในวันนี้ เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของจังหวัดเชียงใหม่ โครงการ “เมืองสะอาด คนในชาติมีสุข” เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมให้เกิดความสะอาดและสวยงามในลำน้ำปิง กำจัดสิ่งกีดขวางในทางน้ำให้น้ำปิงไหลสะดวก ไม่เกิดการเน่าเสีย สามารถใช้เป็นแหล่งน้ำดิบ ผลิตน้ำประปาให้ประชาชนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างวินัยการทิ้งขยะ การคัดแยกขยะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งการจัดเก็บเศษซากกระทงจะใช้เครื่องจักเป็นหลักและเสริมด้วยกำลังพลเข้าดำเนินการในส่วนที่เครื่องจักรเข้าไม่ถึง จะมีเรือเล็กในการดันกระทงมารวมกันในฝั่งใดฝั่งหนึ่งของประตูระบายน้ำแล้วจะใช้รถแบล็คโฮที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานชลประทานที่ 1 และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการตักใส่รถบรรทุกเทท้าย ที่ได้รับความร่วมมือจากเทศบาลหลายแห่งที่อยู่ฝั่งแม่น้ำปิงมาช่วยกัน และเอาไปฝังกลบที่บ่อบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่ตำบลสบแม่ข่า อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนการจัดเก็บปกติจะใช้เวลาประมาณ 2 วัน แต่ในปีนี้คาดว่าน่าจะมีกระทง 25 – 30 ตัน คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน จะเป็นการเก็บส่วนใหญ่ที่อยู่หน้าประตูระบายน้ำ แต่ก็จะมีบางส่วนที่คงค้างและใช้เวลา 3 – 4 วัน จะลอยมาถึง ก็จะมีเจ้าหน้าที่โครงการชลประทาเชียงใหม่ ดำเนินการจัดเก็บ
ในปีนี้จากการสุ่มตรวจกระทงในแม่น้ำปิงพบว่ามีกระทงที่ใช้วัสดุทางธรรมชาติ คิดเป็น 97 เปอร์เซ็นต์ และยังคงมีการใช้วัสดุจากโฟม คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าปีนี้จะมีกระทง จำนวน 60,000 – 70,000 ใบ ซึ่งการฝังกลบเศษซากกระทงจะมีการแยกหลุมฝังกลบกระทงที่ทำจากวัสดุทางธรรมชาติและวัสดุที่ทำจากโฟม เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าโฟมต้องใช้เวลาย่อยสลายนับ 100 ปี ไม่เหมือนวัสดุทางธรรมชาติ ทางจังหวัดพยายามรณรงค์ให้ใช้วัสดุทางธรรมชาติในการลอยกระทงจะดีที่สุด ส่วนกระทงขนมปัง จะทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย หากทิ้งไว้ 2 – 3 วัน จะทำให้น้ำบริเวณนั้นเน่าเหม็น และปลาก็ไม่กิน เนื่องจากปลาแม่น้ำไม่ค่อยกินขนมปังเหมือนปลาเลี้ยงที่กินเป็นประจำ
เรื่องมาใหม่
- (คลิป) ตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน ร่วมกู้ภัย และชาวบ้าน เร่งค้นหานักท่องเที่ยวเดินหลงป่าบ้านยะโป๋
- ผู้ว่าแม่ฮ่องสอนมั่นใจลดไฟป่าหมอกควันได้แน่นอนร้อยละ 50 ในปี 68 เตรียมมาตรการพร้อมบูรณาการทุกภาคส่วน
- แม่ฮ่องสอน อากาศหนาวเย็นจัด ส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยบนเทือกเขาสูง
- สืบ สภ.แม่สะเรียงแกะรอยรถพ่วงเฉี่ยวชนแล้วหนี จำนนด้วยหลักฐาน รุดมอบตัว แจ้ง 3 ข้อหาหนัก
- (คลิป) เชียงราย ชวนเที่ยวป่าส้มแสง สัมผัสธรรมชาติ วิถีชีวิต ป่าชุ่มน้ำอัตลักษณ์หนึ่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน