ร่วมแรงร่วมใจสร้างฝาย สัญญาณแล้งน้ำยวมแห้งขอด ระดมสร้างฝาย 14 ปี แห่งการรักษาแหล่งน้ำพันธุ์ปลา
วันที่ 4 มีนาคม 2566 ที่บริเวณสะพานแม่น้ำยวม วัดสุพรรณรังษี อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำวังปลาต้นน้ำยวม ชาวบ้านสองฝากฝั่งแม่น้ำยวมชุมชนมงคลทอง และหนองป่าแขม ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ ทหาร ตำรวจ พ่อค้าประชาชน และภาคเอกชน ร่วมกันตักทรายใส่กระสอบวางเป็นแนว ผู้ประกอบการท่าทรายงาม จับมือร่วมแรงร่วมใจสร้างฝายกักเก็บน้ำ จุดอนุรักษ์พันธุ์ปลาวังปลาต้นน้ำแม่ยวม เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ปลาน้ำจืดสัตว์น้ำนานาชนิด ที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์รักษา และ การเชื่อมความสัมพันธ์ การสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนทุกหมู่เหล่าอีกทางหนึ่งด้วย
พระครูอนุโชติสุวรรณวิศาล เจ้าอาวาสวัดสุพรรณรังษี กล่าวว่า การทำฝายชะลอน้ำได้เริ่มทำขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2553 ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าในแต่ละปี แม่น้ำยวมจะแห้งในช่วงฤดูร้อน ทำให้มีแนวคิดที่จะกักเก็บน้ำไว้ใช้ อีกทั้งยังเป็นการรักษาพันธุ์สัตว์น้ำที่มีอยู่ไม่ให้สูญพันธุ์ ซึ่งได้กำหนดให้พื้นที่บริเวณสร้างฝายกักเก็บน้ำเป็นเขตอภัยทาน โดยเริ่มแรกมีเพียงชาวบ้านสองฝากฝั่งแม่น้ำยวมที่ช่วยกันทำ
ต่อมาได้มีส่วนราชการในพื้นที่ ตลอดจนรัฐวิสาหกิจ นักเรียน ได้บูรณาการความร่วมมือ สนับสนุนกำลังแรงกายในการช่วยทำฝายกักเก็บน้ำเพื่อใช้ทางการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ตลอดระยะเวลา 14 ปี ของการทำฝายชะลอน้ำ ได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี มีการจัดทำโรงทานอาหารคาวหวานและเครื่องดื่มขนาบสองฝั่งลำน้ำพร้อมให้บริการจิตอาสาทุกคน แต่สิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวต้องปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในกับเยาวชน ซึ่งจะเป็นกำลังหลักสำคัญที่จะสามารถรักษาและพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้
เรื่องมาใหม่
- (คลิป) ตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน ร่วมกู้ภัย และชาวบ้าน เร่งค้นหานักท่องเที่ยวเดินหลงป่าบ้านยะโป๋
- ผู้ว่าแม่ฮ่องสอนมั่นใจลดไฟป่าหมอกควันได้แน่นอนร้อยละ 50 ในปี 68 เตรียมมาตรการพร้อมบูรณาการทุกภาคส่วน
- แม่ฮ่องสอน อากาศหนาวเย็นจัด ส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยบนเทือกเขาสูง
- สืบ สภ.แม่สะเรียงแกะรอยรถพ่วงเฉี่ยวชนแล้วหนี จำนนด้วยหลักฐาน รุดมอบตัว แจ้ง 3 ข้อหาหนัก
- (คลิป) เชียงราย ชวนเที่ยวป่าส้มแสง สัมผัสธรรมชาติ วิถีชีวิต ป่าชุ่มน้ำอัตลักษณ์หนึ่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน