คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดเชียงใหม่ ลงพื้นที่ตรวจการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ของผู้ประกอบการธุรกิจให้เช่าห้องพักในพื้นที่อำเภอแม่ริม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวที่จะมาใช้บริการในฤดูกาลท่่องเที่ยว และช่วงเทศกาลปีใหม่
วันนี้ (17 ธ.ค. 63) นางศิริพร รือเรือง ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดเชียงใหม่ ลงพื้นที่ตรวจผู้ประกอบการธุรกิจให้เช่าห้องพัก หรือโรงแรมในพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นให้ถูกต้อง ตามมาตรฐาน โดยเฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่นที่ต้องใช้แก๊สหุงต้มในการทำความร้อน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่ผู้เข้าใช้บริการ โดยวันนี้ได้ลงพื้นที่ อำเภอแม่ริม ตรวจสถานประกอบการจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โฟร์ซีซั่น รีสอร์ท เชียงใหม่, วนาศรม, อมราวตี เวลเนสเซ้นเตอร์, เรือนอริยา รีสอร์ท และโฮวี่ส์ โฮมสเตย์ และจะได้ออกตรวจในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ต่อไป
นางศิริพร รือเรือง ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึง การลงตรวจในครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว หรือผู้บริโภคในการเข้าใช้บริการห้องพัก และโรงแรมต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในช่วงเทศกาลปีใหม่และช่วงฤดูหนาวที่จะถึงนี้ หากพบว่ามีสถานประกอบการรายใด มีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องทำน้ำอุ่นที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่นจากแก๊สหุงต้ม ซึ่งอาจจะมีผลต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ หากไม่มีความระมัดระวังเพียงพอ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดเชียงใหม่ จะได้ให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้ประกอบการได้เร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไข กรณีพบปัญหา และจะได้มีการลงพื้นที่ตรวจซ้ำอีกรอบ หากยังไม่ปฏิบัติตามก็จะมีการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
เรื่องมาใหม่
- (คลิป) เชียงราย เพื่อไทยเปิดตัว ผู้สมัครชิงนายก อบจ. ทักษินส่งวีดีโอพิเศษ ขอเสียงคนเชียงรายเทคะแนนเลือกตั้ง
- (คลิป) เชียงราย อากาศหนาว นักท่องเที่ยวแห่จองห้องพักจนเต็มยาวถึงปีหน้า
- ผู้ว่าฯแม่ฮ่องสอน รองเลขานายกฯ ยืนยัน ท่องเที่ยวปลอดภัย ไม่มีเหตุการณ์ปะทะฝั่งตรงข้ามแนวชายแดน
- แม่ฮ่องสอน แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 72 ปีการศึกษา 2567
- ขสป.สาละวิน เคาะประตูบ้าน 10 หมู่บ้าน 40 หย่อมบ้าน ตั้งเป้าลดการเผาไหม้พื้นที่ป่า 30% ในปี 2568