SUN เดินหน้าถ่ายทอดนวัตกรรมยกระดับการเกษตรยั่งยืนแห่งอนาคต พร้อมผนึกกำลังเกษตรกรสร้างอาชีพหนุนรายได้สู่ชุมชน
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2566 บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) หรือ SUN ในฐานะผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน แปรรูปและผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรอื่นๆ ภายใต้ตราสินค้าของบริษัท “KC” ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการเกษตรยุคใหม่ จัดงานส่งเสริมการใช้นวัตกรรมสร้างคุณค่า ยกระดับสู่การเกษตรยั่งยืนแห่งอนาคต ณ ไร่ตะวันหวาน (Sun Valley) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า บริษัทมีนโยบายขับเคลื่อนธุรกิจแบบครบวงจร ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์อาหาร และตระหนักถึงการจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยดำเนินโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหวานและพืชเกษตรอื่น ๆ ภายใต้การทำสัญญาส่งเสริมโดยตรง (Contract Farming) ให้เกษตรกรขายผลผลิตเข้าโรงงานโดยตรง และรับซื้อในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งบริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ในพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ส่งเสริมการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การทำเกษตรสมัยใหม่ ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการปลูก ลดต้นทุน และเพิ่มคุณภาพผลผลิต ให้แก่เกษตรกรที่ร่วมโครงการ ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการมากกว่า 20,000 ราย นอกจากนี้บริษัทยังมุ่งมั่นในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการเกษตร และเปิดพื้นที่โครงการ Sun Valley ให้เป็นศูนย์กลางในการให้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชื่อมโยงความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกร เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเกษตรยั่งยืน เกิดความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับศักยภาพของเกษตรของไทยให้มีมาตรฐานในระดับสากล
ทั้งนี้ ในวันที่ 9 กันยายน 2566 บริษัทได้จัดงานส่งเสริมการใช้นวัตกรรมสร้างคุณค่าและยกระดับสู่การเกษตรยั่งยืน โดยเปิดให้เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย พิธีบวงสรวงพระพิรุณ การประกวดข้าวโพดหวาน สาธิตการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตรด้านการเกษตรครบวงจร การสาธิตการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการเพาะปลูกอย่างแม่นยำ Application ทางการเกษตร และบูธจัดแสดงความรู้ด้านการเกษตรจากองค์กรพันธมิตรชั้นนำ
นอกจากนี้ ได้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ ระหว่าง บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) และ ดร.สุมิตร อธิพรหม ในการยกระดับการปลูกวัตถุดิบถั่วลายเสือ โดยร่วมวิจัยและพัฒนา รวมไปถึงการคัดเลือกสายพันธุ์ถั่วลายเสือที่ดีมีคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูก และกระบวนการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ได้คุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม พื้นที่นำร่องกว่า 1,500 ไร่ ในอำเภอสะเมิง อำเภอกัลยาณิวัฒนา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ความร่วมมือกันในครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร พร้อมยกระดับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ให้มีมูลค่าเพิ่ม สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคมในอนาคต
ด้าน ดร.องอาจ กิตติคุณชัย ประธานกรรมการบริหาร กล่าวว่า นับจากนี้ไป บริษัทยังคงมุ่งมั่นสร้างความมั่นคงยั่งยืน ด้านงานวัตถุดิบและการส่งเสริมการเกษตร โดยนำเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยี เข้ามาประยุกต์ใช้ ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดสู่เกษตรกร อย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องตามแนวทาง ESG (Environmental, Social, Governance) โดยดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลสังคมให้เติบโตร่วมกัน และบริหารจัดการองค์ภายใต้หลักธรรมาภิบาล เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบนสู่ความยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของประชาคมโลกต่อไป
เรื่องมาใหม่
- ขสป.สาละวิน เคาะประตูบ้าน 10 หมู่บ้าน 40 หย่อมบ้าน ตั้งเป้าลดการเผาไหม้พื้นที่ป่า 30% ในปี 2568
- (คลิป) เชียงรายจัดโครงการ “ปั้นเยาวชนคนมืออาชีพ” เสริมทักษะอาชีพในโรงเรียน
- เชียงราย ทหารพรานรวบสาวเทอดไทยขนยาบ้า กว่า 5 แสนเม็ด
- อุทยานฯ สาละวิน เตรียมแผนตั้ง 40 จุดเฝ้าระวัง จับมือชุมชนร่วมป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า
- แม่ฮ่องสอน เปิดกิจกรรม Kick Off ร่วมใจป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง