นักร้องป่วนอ้างมั่ว ชัดเจน “ธนารักษ์ ที่ดิน โยธาฯ” ยืนยันพื้นที่ก่อสร้าง “เอกอัครมหาวิหาร มหาศาสดาโลก” อยู่ในโฉนดที่ดินวัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง โครงการอยู่ระหว่างศึกษาออกแบบ ความเป็นไปได้ แต่เจอนักร้องป่วนอ้างมั่ว
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 21 ต.ค.67 ณ สำนักงานโครงการเอกอัครมหาวิหารมหาศาสดาโลก วัดศรีโคมคำพระอารามหลวง ต.เวียง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพะเยา ได้ออกหนังสือเชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานธนารักษ์ จ.พะเยา สำนักงานที่ดิน จ.พะเยา สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จ.พะเยา สำนักงานประมง จ.พะเยา ฝ่ายปกครอง อ.เมืองพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา ดร.ถนอมดีสร้อย ในฐานะประธานมูลนิธิ ดร.ถนอมคุณแพรวพราวดีสร้อย นายวัชระ บุญปลอด ไวยาวัจกร ฝ่ายกฎหมาย วัดศรีโคมคำ พร้อมคณะไวยาวัจกรของวัด เข้าร่วมประชุม กรณีโครงการก่อสร้างเอกอัครมหาวิหารมหาศาสดาโลก โดยมี พระราชปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดพะเยา เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง เป็นประธานในที่ประชุม โดยนายเอกชัย ชมภู ผู้อำนวยการ นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ กลุ่มอำนวยการและกิจการพระพุทธศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.พะเยา เป็นผู้ดำเนินการกระชุม
นายเอกชัย กล่าวว่า ด้วย จ.พะเยาได้แจ้งข้อร้องเรียน กรณีโครงการก่อสร้าง “เอกอัครมหาวิหารมหาศาสดาโลก” ความสูง 217 เมตร ณ วัดศรีโคมคำ อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา โดยขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจ.พะเยา ประสานดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร โดยผู้ร้องได้ตั้งประเด็นร้องไว้หลายเรื่องอาทิ การใช้ดินของธนารักษ์ การสร้างอาคารสูง เรี่ยไร และไม่ทำประชาคม ที่ประชุมเปิดโอกาสให้ ดร.ถนอม ดีสร้อย ประธานมูลนิธิ ดร.ถนอมคุณแพรวพราว ดีสร้อย ในฐานะผู้ถูกร้อง ได้ชี้แจงความเป็นมาของโครงการฯ
ดร.ถนอม กล่าวว่า ขอบคุณท่านหัวหน้าส่วนราชการ และทุกๆ ท่านที่ได้มาหารือกันวันนี้ในประเด็นที่ไม่ควรที่จะเป็นประเด็นที่จะไปรบกวนท่าน ในฐานะที่ถูดพาดพิงและถูกกล่าวหาข้นข้างรุนแรง ที่มาที่ไปของมูลนิธิฯ ถึงมายุ่งเกี่ยวกับโครงการนี้ จริงๆ ผมเป็นคนพะเยา จากนั้นได้อธิบายถึงที่มาของโครงการก่อสร้าง “อัครมหาวิหาร มหาศาสดาโลก” พร้อมฉายภาพสถานที่สำคัญจากทั่วโลก และรูปแบบการที่จะก่อสร้าง คนออกแบบก็เป็นกลุ่มลูกศิษย์ของผม ตอนนี้ก็มีประเด็นตามมาว่าทำไมวัดหลวงแห่งเดียวของ จ.พะเยา จึงไปเอา มอ.ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยทางภาคใต้มาเป็นคนออกแบบ มันเป็นประเด็นเหมือนกันนะครับ ประเด็นอาจจะไม่ถูกร้องเรียนแต่เป็นประเด็น ผมจะเล่าให้ฟังสักนิดว่า คนนี้เขาเป็นลูกศิษย์ผม ผศ.อรกัญญา ง่วนสนสกุล และรุ่นพี่ที่เป็นนายกสมาคมศิษย์เก่าสถาปัตย์ มช.ก็เป็นลูกศิษย์ผมที่มาเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์กับผม และเราเคยออกแบบวัดมาด้วยกันเป็นเจดีย์ที่ จ.ตาก
จากนั้น นายเอกชัย ได้ดำเนินการตามข้อร้องเรียน เริ่มที่การใช้ที่ดินโดยตัวแทนธนารักษ์ฯ แจ้งว่า ประเด็นที่ก่อสร้างแจ้งว่าอยู่ในความรับผิดชอบของกรมธนารักษ์ จากที่ตรวจสอบพบว่าพื้นที่ตรงบริเวณดังกล่าวไม่อยู่ในพื้นที่ นสล.ฉะนั้นที่ตรงนี้ตามข้อกฏหมายคือเป็นโฉนดที่ชอบด้วยกฏหมายของวัด ทางวัดก็ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วที่จะดำเนินการใดๆ ด้านตัวแทนที่ดินจังหวัดชี้แจงว่า ผู้ร้องน่าจะเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นที่ของธนารักษ์แต่เมื่อมีการตรวจสอบพิกัดปราฏกว่าไม่ใช่ของธนารักษ์ มันกลับกลายเป็นที่ดินโดยชอบด้วยกฏหมายเป็นหลักฐานโฉนดที่ดินเลขที่ 2290 หน้าสำรวจ 1349 ต.เวียง มีวัดศรีโคมคำเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
ฉะนั้น วัดศรีโคมคำเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 1136 มีศักดิ์และสิทธิ์ที่จะทำได้ ส่วนตัวแทนโยธาธิการและผังเมือง จ.พะเยา ชี้แจงว่าที่วัดอยู่ในกฏหมายผังเมืองเป็นสีเทาอยู่แล้ว ระบุไว้ว่าพื้นที่สีเทาให้ดำเนินการก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาได้ เพราะฉะนั้น อาคารหลังนี้เป็นอาคารทางพระพุทธศาสนาสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ในพื้นที่สีเทา ส่วนประเด็นที่ 2 เรื่องความสูง 12 เมตร ในพื้นที่สีเทาในผังเมืองไม่ได้ถูกกำหนดเอาไว้ เพราะฉะนั้นเรื่องความสูงไม่น่ามีปัญหาต่อคำว่า 12 เมตร ต่อมาก็ พรบ.เรื่องควบคุมอาคาร อาคารหลังนี้ก็จะถูกกำหนดด้วยแนว Setbacks จะต้องถอยร่นจากแนวเขตกว๊านเข้ามาไม่น้อยกว่า 12 เมตร เกี่ยวข้องกับเรื่องความสูง ตอนนี้รูปแบบยังไม่นิ่งฉะนั้นยังกำหนดเรื่องรายละเอียดไม่ได้ ส่วนเรื่องการทำประชาคม ต้องรอให้มีการออกแบบผ่านการตรวจสอบให้ชัดเจนก่อน ถึงทำประชาคม และเรื่องการเรี่ยไรนั้น ทางฝ่ายปกครอง อ.เมืองพะเยา และที่ประชุมเห็นตรงกันว่า เป็นกิจกรรมทางศาสนาทอดผ้าป่า เป็นศรัทธาร่วมทุนเพื่อทำการศึกษาออกแบบสร้างอาคาร ถือเป็นงานกุศลสงเคราะห์ จึงไม่เข้าข่ายเรี่ยไร
ด้าน นายวัชระ บุญปลอด ไวยาวัจกรวัดด้านกฎหมายกล่าวว่า โครงการเอกอัครมหาวิหาร มหาศาสดาโลก เริ่มต้นตั้งแต่วันเปิดสำนักงานตรงนี้ มีพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระเทพญาณเวที ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 เจ้าอาวาสวัดศรีอุโมงค์คำ และนายรัฐพล นราดิศร ผวจ.พะเยา เป็นประธานเปิดป้าย โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้มีเกียรติ คณะศรัทธา จำนวนมากร่วมพิธี เราก็บอกแล้วว่าเป็นโครงการศึกษาออกแบบความเป็นไปได้ของโครงการฯ
นานยวัชขระ กล่าวต่อว่า ข้อความต่อจากนี้ขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.พะเยา กรุณาบันทึกลงในรายงานในวันนี้ด้วยว่า กรณีผู้ร้องเรียนอ้างตัวเป็นผู้อำนวยการสภาประชาชน 77 จังหวัด อ้างว่าเป็นเครือข่ายประชาชน ใช้สิทธิ์การเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนนี้ ลงชื่อในหนังสือร้องเรียนนี้ ผู้ถูกร้องเรียนขออนุญาตร้องเรียนแย้งกลับว่า
- สภาประชาชน 77 จังหวัด คือหน่วยงานหรือองค์กรอะไร ตั้งขึ้นโดยวิธีการใดหรือหน่วยงานไหน มีกฎหมายใดรองรับ อนุญาตให้ใช้ชื่อนี้ จดทะเบียนจัดตั้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่อย่างไร และตามกฎหมายประเภทไหน
- ผู้ร้องเรียนอ้างตัวเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการสภาประชาชน 77 จังหวัด ใช้กฎหมายใดแต่งตั้งและรับรอง มีระเบียบกฎหมายจากกระทรวง ทบวง กรมใดรองรับ
- ผู้ถูกร้องเรียนขอร้องเรียนแย้งกลับ ให้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพะเยา ตรวจสอบที่มาของสภาประชาชน 77 จังหวัด และตำแหน่งผู้อำนวยการสภาประชาชน 77 จังหวัด ว่ามีกฎหมายใดรองรับ หรือระเบียบของกระทรวงทบวงกรมใดรองรับ หากไม่มีกฎหมายใดรองรับเลย ขอศูนย์ดำรงธรรม ได้ดำเนินการไต่สวนหาข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อยุบ เลิก และมีคำสั่งห้ามใช้หรือแอบอ้างชื่อที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งและไม่มีกฎหมายใดรองรับให้เป็นสภาประชาชน 77 จังหวัดนี้ด้วย หากการจัดตั้งสภาประชาชน 77 จังหวัด ที่ผู้ร้องเรียนกล่าวอ้างมาในหนังสือร้องเรียน มีส่วนกระทำผิดกฎหมายอาญา ขอให้ดำเนินคดีอาญากับผู้แอบอ้างนี้ต่อไป
จากนั้นนายเอกชัย ชมภู ผู้อำนวยการ กลุ่มอำนวยการและกิจการพระพุทธศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.พะเยา ได้สรุปคำชี้แจงเพื่อนำเสนอจังหวัดพะเยา ต่อไป ก่อนปิดการประชุม
Cr. สุรพล ลัดลอย
เรื่องมาใหม่
- (คลิป) ตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน ร่วมกู้ภัย และชาวบ้าน เร่งค้นหานักท่องเที่ยวเดินหลงป่าบ้านยะโป๋
- ผู้ว่าแม่ฮ่องสอนมั่นใจลดไฟป่าหมอกควันได้แน่นอนร้อยละ 50 ในปี 68 เตรียมมาตรการพร้อมบูรณาการทุกภาคส่วน
- แม่ฮ่องสอน อากาศหนาวเย็นจัด ส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยบนเทือกเขาสูง
- สืบ สภ.แม่สะเรียงแกะรอยรถพ่วงเฉี่ยวชนแล้วหนี จำนนด้วยหลักฐาน รุดมอบตัว แจ้ง 3 ข้อหาหนัก
- (คลิป) เชียงราย ชวนเที่ยวป่าส้มแสง สัมผัสธรรมชาติ วิถีชีวิต ป่าชุ่มน้ำอัตลักษณ์หนึ่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน