วันอาทิตย์, 22 ธันวาคม 2567

(คลิป) เริ่มที่พะเยา คนไทยสร้าง คนทั้งโลกเป็นเจ้าของ ทุ่มงบ 5,000 ล้านบาท ไม่ใช้งบจากราชการ สร้าง “อัครมหาวิหาร” สิ่งมหัศจรรย์สูงที่สุดในโลก 217 เมตร

Social Share

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ วัดศรีโคมคำ มูลนิธิ ดร.ถนอม คุณแพรวพราว ดีสร้อย ผลึกพลังเป็นกลุ่มก่อการดี สร้างสิ่งมหัศจรรย์ “อัครมหาวิหาร” สูงที่สุดในโลก 217 เมตร เป็นศูนย์รวมชาวพุธต่อยอดพระพุทธศาสนา 5,000 ปี

ที่ศาลาปฏิบัติธรรม วัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง ต.เวียง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา พระราชปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดพะเยา เจ้าอาวาสาวัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง เป็นประธานในการประชุมหารือ “การสร้างอัครมหาวิหาร” โดยมี พระเมธีวัชรคุณ พระครูสุภัธรพรหมคุณ รองเจ้าคณะจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยเจ้าคณะอำเภอ พระสังฆาธิการ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ประกอบด้วย ผศ.ดร.พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ , ผศ.ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดี ฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ , ดร.สุธิภรณ์ ตรึกตรอง รักษาการรองอธิการบดีวิทยาเขตตรัง , ผศ.อรกัญญา ง่วนสนสกุล คณะบดี คณะสถาปัตยะกรรมศาตร์ , ผศ.ดร.ปราริชาติ มณีมัย คณะบดี คณะพาณิชย์ศาสตร์และการจัดการ , ผศ.ดร.วรางคณา ตันฑสันติสกุล ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการตลาด ดร.ถนอม – คุณแพรวพราว ดีสร้อย ประธานมูลนิธิ , ดร.ประกอบสิริ ภัคดีพินิจ คณะบดีคณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา , นางกลมรัตน์ ทองจิบ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.พะเยา ผู้แทน ผอ.สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จ.พะเยา ผู้แทนผอ.สำนักงานวัฒนธรรม จ.พะเยา , นางมุกดา อินต๊ะสาร ประธานคณะทำงานเครือข่ายสร้างบ้านแปงเมืองพะเยา , นายกมลสันต์ ศรีวิราช ประธานหอการค้า จ.พะเยา และตัวแทน กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ YEC หอการค้า จ.พะเยา , นายมนัส สายโกลสุม รองนายกเทศมนตรีเมืองพะเยา , นายศุภชาติ สันกว๊าน นายกเทศบาลตรีตำบลบ้านต๋อม , นายพิจิตร อ้อยลี นายกเทศมนตรีตำบลท่าจำปี และ นายอัษฎากรณ์ ฉัตรานันท์ เลขานุการนายก อบจ.พะเยา พร้อมผู้นำชุมชนต่างๆ

ดร.ถนอม ดีสร้อย ประธานมูลนิธิ ดร.ถนอม คุณแพรวพราว ดีสร้อย กล่าวถึงแรงบันดาลใจสร้างมหาวิหารสูง 217 เมตร เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกจากฝีมือมนุษย์ ณ พื้นที่ว่างเปล่าประมาณ 50 ไร่ วัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง จ.พะเยา ว่า จริงๆ ชีวิตคนเราเกิดมามันก็คงไปสิ้นสุดที่ความตาย สิ่งที่เราดิ้นรนเสาะแสวงหาก็คือทรัพย์สิน ถ้าเราไม่ไปจากมันๆ ก็ไปจากเรา ฉะนั้นวันหนึ่งเราก็ต้องไปอยู่แล้ว ผมก็เลยนึกถึงว่าชีวิตเราจะทิ้งอะไรไว้บนโลกใบนี้ ดังนั้นก็มานึกถึงว่าจะทำอะไรสักอย่างเอาไว้ให้กับโลกใบนี้ก่อนที่เราจะไม่มีชีวิตอยู่ ก็ได้รูปแบบได้ไอเดียได้แรงบันดาลใจจากการไปดูงานไปท่องเที่ยวต่างประเทศ เห็นวัดฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่อินเดียเมื่อปีที่แล้ว ประกอบกับเราไปดูสิ่งที่เรียกว่ามันสูงที่สุดในโลกใหญ่ที่สุดในโลก ดึกดำบรรพ์ที่สุดในโลกอะไรพวกเนี้ย โอ้ว..คนแห่กันไปดูมากทำไมบ้านเราเมืองเราถึงไม่มีสักที่หนึ่ง ทำไมเราไม่มีศักยภาพที่สร้างขนาดนั้นเหรอ เลยเป็นที่มาของแนวความคิดว่า อยากจะสร้างอะไรซักอย่างและโชคดีมากเลยว่าวัดศรีโคมคำของเราตั้งมา 500 กว่าปีแล้ว มีที่อยู่แปลงหนึ่งที่เหลืออยู่

เป็นบุญบารมีของท่านเจ้าคุณพระราชปริยัติ ท่านเจ้าคณะจังหวัดพะเยา ท่านบอกว่า อาจารย์ถนอมอยากทำอะไรเอาที่ตรงนี้ไปดำเนินการได้เลยก็เลยเป็นที่มา ทีแรกแค่ทำเป็นจุดสวยๆ เป็นที่เช็คอิน ผมมีรูปที่สวยมากได้มาจาก AI แต่ด้วยความที่ผมชอบทำอะไรให้มันสุดๆ ในที่สุดก็หาจุดลงตัวว่าให้นันเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้มันเป็นแลนด์มาร์คของโลกใบนี้เลยไม่ใช่แค่ประเทศไทย อ.ถนอมกล่าว

“ปรึกษากับผู้ออกแบบว่าเราจะเอาอย่างไรกันดี ใหญ่ที่สุดคงไม่ได้เพราะที่เราจำกัด สวยที่สุดมันวัดกันอยากเพราะความเห็นคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นมีสิ่งหนึ่งก็คือสูงที่สุดพอสูงที่สุดผมก็เสิร์ชเลยหาข้อมูล ทั่วโลกมีวิหารสูงสุดอยู่ที่ไหน ได้ข้อมูลอยู่ที่เยอรมัน ต่อมาข้อมูลมันเปลี่ยนกันอยู่เรื่อยๆ ล่าสุดอยู่ที่ บาร์เซโลนา ซาการดาฟามีเลีย ความสูง 172 เมตร “อัครมหาวิหาร” จะมีความสูง 217 เมตรและนี่คือความสูงที่สุดที่เป็นสิ่งมหัศจรรย์เป็นแลนด์มาร์คใหม่ของคนทั้งโลก ต้องอาศัยพลังพุทธศรัทธาสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันทุกฝ่ายโดยเฉพาะชาวพุธ 500 กว่าล้านคนทั่วโลกที่จะได้มาสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาถวายเป็นพุทธบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราซึ่งเป็นมหาศาสดาเอกของโลก” อ.ถนอม กล่าว

ผศ.ดร.พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้หลักคิดในการออกแบบ เป็นอัครมหาวิหารในโลกอนาคต(1,000 ปีข้างหน้า) เป็นอัครมหาวิหารทางพุทธศาสนาที่สูงที่สุดในโลก ออกแบบให้สามารถตั้งอยู่ได้นานนับพันปี เป็นวิหารที่เล่าเรื่องราวพุทธศาสนาและพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุทางพุทธศาสนา มีพื้นที่ปฏิบัติธรรม เป็นพื้นที่ในการจัดงานสำคัญทางพุทธศาสนาในโอกาสสำคัญต่างๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและศาสนา และเป็นที่ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตัล Metaverse ในการสื่อสารกับโลกพุทธศาสนา

โดยพระสังฆาธิการ ภาคส่วนราชการ ผู้แทนภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ผลกระทบ ผลได้ ผลเสีย จากการสร้างอัครมหาวิหารอย่างสร้างสรรค์ โดยคณะทำงานได้รับไว้พิจารณาเพื่อนำกลับมาหารือความคืบหน้าในโอกาสต่อไป

พระราชปริยัติ กล่าวว่า ดีใจที่ทุกฝ่ายได้ร่วมหารือกันอย่างสร้างสรรค์ มีอยู่วลีหนึ่งอยากเสนอในที่ประชุม “พะเยาเป็นพื้นที่ริเริ่ม คนไทยเป็นผู้สร้าง คนทั้งโลกเป็นเจ้าของ” ดังนั้นทุกทัศนคติมุมมองเพื่อความสำเร็จเป็นของทุกคน เพราะว่าอัครมหาวิหารเป็นสมบัติของคนทั้งโลก เบื้องแรกที่คณะเรา (กลุ่มผู้ก่อการดี) เริ่มต้นหายใจรดต้นคอเป็นครั้งแรก เรามองถึงการวางรากฐานวิถีวัฒนธรรมคนในอดีตเป็นมาแบบไหนตำนานประวัติศาสตร์ที่จะนำเสนอ คนปัจจุบันใช้วิถีชีวิตอย่างไร ดังนั้นเราจะส่งผ่านเด็กรุ่นลูกรุ่นหลานสืบวิถีวัฒนธรรมเขาจะเป็นอย่างไร พวกผู้ก่อการดีนี่แหละจะช่วยวางรากฐานที่มั่นคงให้เขาสืบต่อ เรายังมองถึงประโยชน์ใช้สอย เราเริ่มต้นจากท้องถิ่น เน้นกิจกรรมของทุกชนชาติ ทุกภาษาทุกศาสนา เพราะว่าเราสร้างสมบัติที่เป็นของคนทั้งโลก มุมมองความเห็นที่ทุกท่านนำเสนอเป็นประโยชน์หลายๆ อย่าง ทั้งมลภาวะ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม พลังงาน ซึ่งทีมงานคิดมาแต่เริ่มแรก คิดถึงวัสดุที่จะใช้

  1. ความคงทน
  2. ประหยัดพลังงาน
  3. ไม่เป็นภาระสิ่งแวดล้อม
  4. ม่สร้างมลพิษ

ตรงนี้คณะทำงานทำกันค่อนข้างหนัก เพราะต้องการสร้างมหาวิหารในพื้นที่ของวัดแต่ไม่ใช่ของวัดและไม่ได้คิดแบบวัดแต่นี่เราต้องการให้เป็นของคนทั้งโลก

อาตมาอยากให้ทุกภาคส่วนมาช่วยเหลือกัน โดยเฉพาะฝั่งของ มอ.ท่านรองอธิการบดีฯ ท่านจัดเต็มทั้งเรื่องการท่องเที่ยวการตลาด บัญชี กฏหมาย บริหารยุทธศาสตร์ก็มา เดี๋ยวจะมีของมหาวิทยาลัยพะเยามาเสริมการตลาด เรามองครอบคลุมทุกมิติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คนพะเยาจะต้องช่วยกันบริหารจัดการดูแลรักษาเป็นเบื้องต้น

เจ้าคณะจังหวัดพะเยา บอกให้สังเกตเลข 217 เป็นเลขอัศจรรย์ของ ดร.ถนอม ดีสร้อย เลข 3 ตัวท่านไปบวกกันเลยครบทั้ง10 รัชกาลของพระบรมราชจักรีวงศ์ เพราะสถานที่นี้ส่วนหนึ่งเราสร้างเพื่อน้อมบูชาคุณองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ เพราะเราอยู่ในแผ่นดินพระบรมราชจักรีวงศ์ ดังนั้นทุกอย่างไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ไม่ใช่เรื่องแค่คิด แต่ทุกอย่างออกมาด้วยปนิทานที่มุ่งมั่น แน่วแน่ อยากจะบอกว่าชั่วชีวิตที่เราเกิดมาได้ทำสิ่งเหล่านี้มันเป็นความภาคภูมิใจ เป็นตัวชี้วัดคุณค่าชีวิตของมนุษย์ทุกๆ คนการสร้างสิ่งมหัศจรรย์ของโลกมันเป็นความภาคภูมิที่ยิ่งใหญ่

“อย่างเช่น ผศ.อรกัญญา ง่วนสนสกุล (อาจารย์แอน) นำเสนอ พ.ศ.2467 เมื่อ 500 ปีที่แล้วเราสร้างสิ่งมหัศจรรย์คือพระเจ้าตนหลวงจนเสร็จสิ้น ณ วันนี้ พ.ศ.2567 เราเริ่มต่อยอดสร้างสิ่งมหัศจรรย์ “อัครมหาวิหาร” ส่งต่อผ่านให้คนรุ่นหลัง เป็นรอยต่อที่จะเริ่มต้นสิ่งใหม่แล้วมันจะส่งผ่านไปถึงพ.ศ.5067 นั่นคือความตั้งมั่นของเจ้าภาพและทีมงาน ดังนั้นจึงขออนุโมทนาทุกๆท่าน พระราชประริยัติ กล่าวปิดการประชุม