แอ่วพะเยา พาชิมกะละแมไทยลื้อโบราณ “หอม หวาน มัน ห่อใบตองแบบโบราณ” บ้านดอนไชย
เนื่องจากประเพณีงานบวช งานบุญ ของชาวไทยลื้อสมัยโบราณมักนิยมทำขนมปาด (ลักษณะคล้ายขนมชั้น แต่จะนิ่มกว่า) ซึ่งเป็นขนมที่ชาวไทยลื้อนิยมรับประทาน แต่ขนมปาดเมื่อผลิตขึ้นมาแล้วจะเก็บรักษาได้ไม่นาน สามารถเก็บรักษาได้แค่ 2 วัน เท่านั้น
ต่อมาเมื่อมีงานประเพณีสืบสานตำนานไทยลื้อ กลุ่มแม่บ้าน บ้านดอนไชย อ.เชียงคำ จึงได้รวมกลุ่มกันประมาณ 40 กว่าคน ตั้งกลุ่มขนมปาดขึ้น เพื่อผลิาตขนมปาดไปจำหน่ายในงานดังกล่าว ปรากฏว่าสามารถขายได้เป็นอย่างดี มีลูกค้าต่างจังหวัดซื้อกลับไปเป็นของฝากกัน เป็นจำนวนมาก แต่จากข้อจำกัดที่ขนมปาดไม่สามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานานๆ จึงทำให้ลูกค้าต้องรีบบริโภคให้ทันก่อนที่ขนมปาดจะหมดอายุ
ดังนั้นหลังจากงานสืบสานตำนานไทยลื้อได้จัดเสร็จสิ้นลง ทางกลุ่มจึงได้ปรึกษากันเพื่อหาวิธีการแก้ไขและทำให้ขนมปาดมีอายุในการเก็บรักษาได้ยาวนานขึ้นโดยที่ไม่ต้องผสมสารเคมี หรือวัตถุกันเสียใดๆ และในเวลาต่อมาทางกลุ่มจึงได้ส่งตัวแทนไปอบรมวิธีการทำขนมต่างๆ ที่ YMCA จ.เชียงราย ซึ่งความรู้ที่ได้จากการอบรมนั้น ทางกลุ่มสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำขนมกวนโดยทำให้มีลักษณะคล้ายกับขนมปาดไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมหรือวิธีการกวน และก็ได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกลายมาเป็นกะละแมโบราณ ขึ้นนั่นเอง ซึ่งส่วนผสมที่สำคัญที่ทำให้ขนมปาดกับกะละแมโบราณแตกต่างกันก็คือ ขนมปาดจะใช้แป้งข้าวเจ้า และมีสีแดงจากน้ำอ้อย แต่กะละแมโบราณจจะใช้แป้งข้าวเหนียวและมีสีดำจากกากมะพร้าวเผาแทน โดยการผลิตกะละแมโบราณนั้นจะเน้นในขั้นตอนกระบวนการผลิตที่เป็นแบบโบราณ และใช้ความหอมจากใบตองเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งด้วย
สนใจผลิตภัณฑ์ OTOP กาละแมโบราณไทยลื้อ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านดอนไชย 62/1 หมู่ 5 ต.หย่วน อ.เชียงคำ จ.พะเยา โทร.054-4511758 , 4511513 , 081-9934814
เรื่องมาใหม่
- AIS ผนึก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจไซเบอร์เปิด “มาตรการระเบิดสะพานโจร” บุกรวบจีนเทา พร้อมเครื่องส่ง SMS ปลอม
- เชียงราย จัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบกลไกเครือข่ายทีมสหวิชาชีพด้านเด็กและเยาวชน
- (คลิป) ตำรวจแม่จัน เชียงราย จับสึกพระเมาเหล้าขอปัจจัย
- เจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน อนุโมทนา “ปิดเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยกองมู ( ลอยกระทงสวรรค์) ประจำปี 2567”
- “น้องโบว์ลิ่ง” คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดหนูน้อยนพมาศเมืองยวมใต้ ประจำปี 2567