วันพฤหัสบดี, 9 มกราคม 2568

เดินหน้าประชาคม แม่สะเรียงยืนกราน ค้านสัมปทานโรงโม่หิน เตรียมเวทีเสวนาประกาศจุดยืนชัดเจนไม่เอาโรงโม่ 100%

Social Share

เดินหน้าประชาคม แม่สะเรียงยืนกราน ค้านสัมปทานโรงโม่หิน เตรียมเวทีเสวนาประกาศจุดยืนชัดเจนไม่เอาโรงโม่ 100%

วันที่ 18 มิถุนายน 2566 เริ่มเวทีประชาคม 5 หมู่บ้าน รอบแรก ยืนกราน คัดค้านโรงโม่หิน แน่นอน ชาวแม่สะเรียง หลายหมู่บ้านทั้งในพื้นที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และ พื้นที่รอบข้างการสัมปทานโรงโม่ ได้ร่วมกันทำประชาคมหมู่บ้าน เพื่อคัดค้านการสัมปทานโรงโม่หิน ยืนยันชาวแม่สะเรียงไม่เอาโรงโม่ จะไม่สร้างความทุกข์ สร้างปัญหาในอนาคตให้เดือดร้อนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน หลังทำการเดินประท้วงคัดค้าน หน้าที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง และ ยื่น 5 พันรายชื่อ ค้านประทานบัตรเหมืองโรงโม่หิน ไปก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ซึ่งอยู่ระหว่างการรอคำตอบจากทางผู้ว่าฯ และ อุตสาหกรรมจังหวัด หลังทำการยืนหนังสือคัดค้านไปแล้ว ทาง ตัวแทนภาคประชาชน ได้มีการจัดเวทีประชาคม 5 หมู่บ้านที่อยู่ในเขตสัมปทาน และ หมู่บ้านใกล้เคียง ที่ได้รับผลกระทบ ในการสัมปทานโรงโม่หิน ซึ่งอยู่ใกล้ตัวอำเภอแม่สะเรียง โดยได้มีการดำเนินการจัดประชาคมใน เริ่มการประชาคม 5 หมู่บ้านรอบแรก ประกอบไปด้วย หมู่ 4 บ้านทุ่งพร้าว หมู่ 3 บ้านแพะ บ้านนาคาว หมู่ 9 ต.แม่สะเรียง หมู่ 13 บ้านโป่งดอยช้าง หมู่ 12 บ้านโป่ง บ้านท่าข้าม ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ทั้งภาคเช้าและภาคค่ำ

เช่นเดียวกับ ที่ศาลาประชาคมบ้านทุ่งพร้าว และศาลาประชาคมบ้านแพะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พี่น้องทั้งสองหมู่บ้านเข้าร่วมประชุมประจำเดือนมิถุนายน 2566 มีวาระที่น่าสนใจคือ การร่วมกันแสดงเจตจำนงคัดค้านการออกประทานบัตรโรงโม่หิน ของ บริษัทเชียงใหม่โรงโม่หิน จำกัด โดยมี นายอนันต์ ชิงชัย กำนันตำบลแม่สะเรียง เป็นประธานในการประชุม มี นายวิชัย กองแก้ว นายกเทศมนตรีตำบลเมืองยวมใต้ นายคำปัน คำประวัน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่สะเรียง นายเรืองศักดิ์ ขาวสะอาด ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยาที่ 33 (บ้านทุ่งพร้าว) และ นายทองทิพย์ แก้วใส ตัวแทนภาคประชาชน เข้าร่วมประชุม ที่ประชุมฯ จึงแสดงเจตจำนงร่วมกันยกมือคัดค้านการออกประทานบัตรโรงโม่หิน ของ บริษัทเชียงใหม่โรงโม่หิน จำกัด ประชาชนต่างตระหนักดีว่าจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีหากมีการทำเหมืองแร่ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากรป่าไม้ แหล่งน้ำ เส้นทางการคมนาคม มลภาวะทางเสียง มลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละออง จากการระเบิดแร่และการโม่หิน ซึ่งมลภาวะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20 กิโลเมตร

นายทองทิพย์ แก้วใส ตัวแทนภาคประชาชนชาวอำเภอแม่สะเรียง กล่าวว่า การทำประชาคมเพื่อให้พี่น้องประชาชคนแม่สะเรียงได้รับทราบถึง ผลกระทบถ้าเหมืองทำได้ 30ปี ชาวแม่สะเรียงจะเหมือนตายทั้งเป็น การตัดสินใจวันนี้ของพ่อแม่พี่น้อง จะส่งผลถึงอนาคตลูกหลานของพวกเรา ประกอบกับ นอกจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โรงเรียน สถานที่ราชการ โรงพยาบาล หน่วยงานราชการ ทุกหน่วย ย่อมได้รับผลกระทบจากโรงโม่หินอย่างแน่นอน ถ้าเดินตามระบบราชการ เราแพ้แน่ต้องใช้พลังภาคประชาชนร่วมกัน หลังยื่นหนังสือให้กับ อ.แม่สะเรียงแล้ว เราก็ยังมาหารือแนวทางการดำเนินการขั้นตอนต่อไป หากไม่มีการตอบรับจากทางจังหวัด หรือ อุตสาหกรรมจังหวัด ภายหลังจากที่ได้มีการยืนหนังสือคัดค้านไปแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวของบริษัทที่รับการสัมปทาน ทาง ชาวอำเภอแม่สะเรียงของเราก็จะแสดงพลังการชุมนุมใหญ่ เราจะชุมนุมใหญ่ที่จะมี นักเรียน ภาคประชาชนและทุกฝ่ายเข้าร่วมเคลื่อนไหวกันอีกครั้ง เพื่อเป็นการแสดงจุดยืน แสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการขัดค้านการสัมปทานโรงโม่หิน หากการประชาคม และ การชุมนุมคัดค้านไม่สามรถยับยั่งได้ เราก็จะถวายฎีกา นี้คือไม้ตายสุดท้ายของจะดำเนินการ เพื่อคนแม่สะเรียง ซึ่งเราไม่ได้ปฏิเสธความเจริญที่จะเข้ามาในพื้นที่ แต่ เราห่วงความเจริญที่เข้ามาทำลาย ทำร้าย คนแม่สะเรียง ไปชั่วลูกชั่วหลาน ซึ่งการยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงค์การคัดค้าน มีประชาชนร่วมลงชื่อคัดค้านการประทานบัตรทำเหมืองในครั้งนี้ โดยมีพี่น้องประชาชนร่วมลงรายชื่อไม่เห็นด้วย 5,300 คน และ ในวันที่ 8 กรกฏาคมนี้ เตรียมเปิดเวทีเสวนา เหมืองแร่และโรงโม่หินแม่สะเรียง ขึ้น เช่นกัน

สำหรับพื้นที่การขอประทานบัตร ตามใบอนุญาตขอทำเหมืองแร่อยู่ในพื้นที่เขตรอยต่อระหว่าง บ้านโป่งดอยช้าง ต.บ้านกาศ และบ้านแพะ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน บนเนื้อที่ 132-0-97 ไร่ เป็นพื้นที่ขอประทานบัตร 1/2565 ชนิดแร่หินอุตสาหกรรม ชนิดหินปูน (เพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้าง) ซึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 ทางบริษัทได้ลงพื้นที่ บ้านโป่งดอยช้าง เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อห่วงใยชาวบ้านในรัศมีการดำเนินการของเหมืองแร่ในรัศมี 500 เมตร โดยทีมงานวิศวกรเมืองแร่ของบริษัทฯ โดยระบุว่าพื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่แหล่งหินอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ไม่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ไม่มีแหล่งโบราณคดี หรือแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 และ 3