ราษฏรบ้านโป่งดอยช้าง ตั้งป้อมไม่เอาโรงโม่หิน หลัง บริษัทฯ ลงพื้นที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นในการขอประทานบัตร
วันที่ 30 มกราคม 2566 ศาลาเอนกประสงค์บ้านโป่งดอยช้าง ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ตัวแทนราษฎร 370 กว่าครอบครัว ได้เดินทางมาร่วมรับฟังการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ชุมชน ของ บริษัทโรงโม่หินเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาการขอประทานบัตรตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 และ เพื่อนำข้อมูลจากชุมชนมาประกอบการกำหนดมาตรการสิ่งแวดล้อม สำหรับพื้นที่ของประทานบัตร ตามใบอนุญาติขอทำเหมืองแร่อยู่ในพื้นที่เขตรอยต่อระหว่าง บ้านโป่งดอยช้าง ต.บ้านกาศ และ บ้านแพะ ต.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน บนเนื้อที่ 132-0-97 ไร่ ระบุเป็นพื้นที่ขอประทานบัตร 1/2565 ชนิดแร่หินอุตสาหกรรม ชนิดหินปูน (เพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้าง) ซึ่งการลงพื้นที่ของบริษัทฯโรงโม่หินในครั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อห่วงใยชาวบ้านในรัศมีการดำเนินการของเหมืองแร่ในรัศมี 500 เมตร โดยทีมงานวศวกรเมืองแร่ของบริษัทฯ ทั้งนี้ระบุว่าพื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่แหล่งหินอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ไม่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ไม่มีแหล่งโบราณคดี หรือ แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 และ 3
ภายหลังที่ชาวบ้านโป่งดอยช้างที่เดินทางมาร่วมรับฟังข้อมูล ต่างมีความเห็นพ้องต้องกันไม่เห็นด้วยกับการที่บริษัทดังกล่าวจะมาดำเนินการเปิดโรงโม่หินในพื้นที่เชื่อว่าชาวบ้านจะได้รับผลกระทบในระยะเวลาที่ยาวนานส่งผลถึงลูกหลานในอนาคต เบื้องต้นจึงไม่เห็นชอบในการขอสำประทานการทำโรงโม่หินในพื้นที่ดังกล่าว
ขณะที่ทางบริษัทฯ ได้ชี้แจงช้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการขออนุญาต การดำเนินการประกอบกิจการเหมืองแร่ แนวทางการป้องกันและแก้ไหขผลกระทบต่อชุมชน การปรับสภาพฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในเบื้องต้น
เรื่องมาใหม่
- (คลิป) ตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน ร่วมกู้ภัย และชาวบ้าน เร่งค้นหานักท่องเที่ยวเดินหลงป่าบ้านยะโป๋
- ผู้ว่าแม่ฮ่องสอนมั่นใจลดไฟป่าหมอกควันได้แน่นอนร้อยละ 50 ในปี 68 เตรียมมาตรการพร้อมบูรณาการทุกภาคส่วน
- แม่ฮ่องสอน อากาศหนาวเย็นจัด ส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยบนเทือกเขาสูง
- สืบ สภ.แม่สะเรียงแกะรอยรถพ่วงเฉี่ยวชนแล้วหนี จำนนด้วยหลักฐาน รุดมอบตัว แจ้ง 3 ข้อหาหนัก
- (คลิป) เชียงราย ชวนเที่ยวป่าส้มแสง สัมผัสธรรมชาติ วิถีชีวิต ป่าชุ่มน้ำอัตลักษณ์หนึ่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน