แม่ลาน้อย สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่าลเวือะ ครั้งที่ 2 พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนท้องถิ่น
วันที่ 26 มีนาคม 2566 ที่บ้านละอูบ หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายกฤตพล รชตเมธานนท์ นายอำเภอแม่ลาน้อยเป็นประธานเปิดงานสืบสานวัฒนธรรมชนเผ่าลเวือะ ครั้งที่ 2 เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนท้องถิ่น บนฐานการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรม และทรัพยากรชุมชน โดยมีนายณัฐพงษ์ ไผ่พันพฤกษ์ ผู้ใหญ่บ้านบ้านละอูบ ในนามประธานคณะกรรมการดำเนินงาน กล่าวรายงาน
นายณัฐพงษ์ ไผ่พันธ์พฤกษ์ ผู้ใหญ่บ้านละอูบ กล่าวว่า งานสืบสานวัฒนธรรมชนเผ่าลเวือะ ครั้งที่ 2 เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนท้องถิ่น บนฐานการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรม และทรัพยากรชุมชน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู วัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามของชนเผ่าลเวือะ ให้เป็นที่รู้จัก รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว ของชุมชนลเวือะในประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสานและฟื้นฟูวัฒนธรรมไทย เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าลเวือะ ที่มีความสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันในสังคม พหุวัฒนธรรม และสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปฏิบัติการที่ดีของชุมชน ชนเผ่าลเวือะ องค์กร หน่วยงาน และสาธารณชน และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในงานสืบสานวัฒนธรรมชนเผ่าลเวือะแห่งประเทศไทย มีชุมชนเข้าร่วมประกอบด้วย ชุมชนเผ่าลเวือะในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย ตัวแทนองค์กรทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และผู้ที่สนใจทั่วไปร่วมงานกว่าพันคน
ภายในงานมีขบวนแห่และการแสดงของชนเผ่าลเวือะแต่ละชุมชน กิจกรรมการแข่งขันกีฬาชนเผ่า และกีฬาสากล กิจกรรมการขึ้นบ้านใหม่ เยี่ยมชนบ้านลเวือะ แหล่งอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมลเวือะ เวทีสัมมนาวิชาการด้านชนเผ่าลเวือะ นิทรรศการวิถีชีวิต การแสดงศิลปะวัฒนธรรมชนเผ่าลเวือะ กิจกรรมรณรงค์และฟังบทเพลงจากศิลปินลเวือะ กิจกรรมและเปลี่ยนอาหารและแบ่งปันเมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้าน และการจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
นายกฤตพล รชตเมธานนท์ นายอำเภอแม่ลาน้อย กล่าวว่า การจัดงานสืบสานวัฒนธรรมชนเผ่าลเวือะ มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณีอันดีงามของชนเผ่าลเวือะ ให้เป็นที่รู้จัก รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนลเวือะในประเทศไทย ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสานและฟื้นฟูวัฒนธรรม เป็นพื้นที่เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าละเวือะที่มีความสัมพันธ์กับการอยู่ร่วมกันในสังคม พหุวัฒนธรรม และสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับชุมชน
หมู่บ้านละอูบ ตั้งอยู่บนยอดดอยสูง มีทิวทัศน์สวยงาม ชาวลเวือะที่นี่ มีวิถีวัฒนธรรมต่างไปจากชาวไทยภูเขาเผ่าอื่น ๆ เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย การแต่งกาย ประเพณี และพิธีกรรม ชาวบ้านยังคงใช้วิถีชีวิตสุดเรียบง่าย มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ หาชมได้ยาก และที่นี่ยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่ดีที่สุดในแม่ฮ่องสอนอีกด้วย
เรื่องมาใหม่
- (คลิป) ตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน ร่วมกู้ภัย และชาวบ้าน เร่งค้นหานักท่องเที่ยวเดินหลงป่าบ้านยะโป๋
- ผู้ว่าแม่ฮ่องสอนมั่นใจลดไฟป่าหมอกควันได้แน่นอนร้อยละ 50 ในปี 68 เตรียมมาตรการพร้อมบูรณาการทุกภาคส่วน
- แม่ฮ่องสอน อากาศหนาวเย็นจัด ส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยบนเทือกเขาสูง
- สืบ สภ.แม่สะเรียงแกะรอยรถพ่วงเฉี่ยวชนแล้วหนี จำนนด้วยหลักฐาน รุดมอบตัว แจ้ง 3 ข้อหาหนัก
- (คลิป) เชียงราย ชวนเที่ยวป่าส้มแสง สัมผัสธรรมชาติ วิถีชีวิต ป่าชุ่มน้ำอัตลักษณ์หนึ่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน