พิษโควิด 19 เกษตรกรโอครวญ ฟักทองราคาตก ไร้พ่อค้าเหลียวแล เหลือโลละ 1-2 บาทแล้ว ยังไม่มีคนซื้อ สาเหตุจากสถานการณ์โควิด วิงวอนทุกภาคส่วนช่วยเหลือ
วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอนโอดครวญ ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน นอกจากการปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง และข้าวไร่แล้ว ฟักทองซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่อย่างเป็นกอบเป็นกำ แต่หลังจากเกิดสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และจังหวัดแม่ฮ่องสอนก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ ผลผลิตทางการเกษตรนอกจากราคาจะตกต่ำแล้ว ยังไม่มีพ่อค้ามารับซื้อเหมือนเมื่อก่อน
นายชาติชาย ตาหมี่ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน และเป็นเกษตรกรผู้ปลูกฟักทอง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ในพื้นที่ตำบลสบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน และพื้นที่อำเภอปายบางส่วน นอกจากพืชชนิดอื่นๆแล้ว เกษตรกรจะปลูกฟักทองจำหน่ายเลี้ยงครอบครัวเกือบทุกหลังคาเรือน โดยใช้ฟักทอง พันธุ์ทองอำไพ ซึ่งเป็นฟักทองที่มีคุณภาพรสชาติอร่อยเป็นที่นิยมของประชาชนทั้งจังหวัด ซึ่งมีพื้นที่ปลูกฟักทองประมาณกว่า 6,000 ไร่ ผลผลิตที่ได้แต่ละปีจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 กิโลกรัม ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะมีพ่อค้าจากจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงรวมทั้งพ่อค้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมารับซื้อถึงไร่ซึ่งจะขายได้ในราคากิโลกรัมละ 20-30 บาท แต่หลังจากเกิดสถานการณ์โควิดเกษตรกรไม่สามารถนำฟักทองออกไปขายยังต่างจังหวัดได้และพ่อค้าจากต่างถิ่นก็ไม่เข้ามารับซื้อทำให้เกษตรกรไม่สามารถจำหน่ายฟักทองได้และราคาก็ตกต่ำสุดในชีวิตที่ทำเกษตรกรรมมา เหลือกิโลกรัมละ 1-2 บาท ก็ยังไม่สามารถจำหน่ายได้วางทิ้งไว้ก็จะหายหายก็ต้องนำไปเป็นอาหารหมู่ที่เลี้ยงไว้ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะฟักทองหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะอยู่ได้ไม่เกิน 4 เดือน หากเกินกว่านั้นก็จะเน่าเสีย
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสบป่อง อ.ปางมะผ้า กล่าวต่อไปว่า ในหมู่บ้านแม่หมูลีซอ ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านที่ตนอาศัยอยู่ชาวบ้านจะปลูกฟังทองประมาณ 20 ครัวเรือน แต่ละปีจะได้ผลผลิตฟักทองประมาณ 3-4 หมื่นกิโลกรัม ขณะนี้ไม่สามารถขายฟักทองได้ จะไปหางานทำที่อื่นก็ไม่มีงานเพราะเป็นช่วงโควิด ทำให้ชาวบ้านขาดรายได้ อยากให้ จะนำไปแปรรูปก็ก็ทำไม่เป็นออเพราะชาวบ้านไม่มีความรู้เรื่องแปรรูป สิ่งที่ทำได้คือเมื่อเก็บผลผลิตเสร็จก็ส่งจำหน่าย ถ้าขายไม่ได้ก็ให้หมูอย่างเดียว
นายชาติชาย ตาหมี่ กล่าวต่อไปว่า ผลผลิตฟักทองถ้าปลูก 1 ไร่ หรือ 1 แปลง อย่างน้อย ๆ เกษตรกรก็จะได้เงินมากถึง 100,000 บาท แต่ปีนี้ขาดทุนย่อยยับ ค่าเรืองไม่ต้องพูดถึงคือขายไม่ออกก็ไม่มีกำไรไม่มีอะไรกินแล้ว ทำให้ชาวบ้านเป็นหนี้เป็นสินกู้ ธกส.มาลงทุนและไม่มีเงินคืนให้ปีนี้คงจะเป็นหนี้ต่อไปอีก สาเหตุมาจากโรคโควิด ทุกปีที่ผ่านมาไม่มีโควิด ผลผลิตการเกษตรขายได้ ขายดี แต่ปีนี้ทุกคนเศร้า อยากจะฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอให้มาซื้อฟักทองของเกษตรกรในอำเภอปางมะผ้าทั้งหมด เพราะได้รับความเดือดร้อน ขาดทุก ปลูกฝักทองไว้ก็ไม่ได้ขาย ขอให้ช่วยหาพ่อค้าหรือหน่วยงานที่มีโครงการให้มาช่วยเหลือชาวบ้านด้วย ชาวบ้านรอการช่วยเหลือยู่
เรื่องมาใหม่
- AIS ผนึก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจไซเบอร์เปิด “มาตรการระเบิดสะพานโจร” บุกรวบจีนเทา พร้อมเครื่องส่ง SMS ปลอม
- เชียงราย จัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบกลไกเครือข่ายทีมสหวิชาชีพด้านเด็กและเยาวชน
- (คลิป) ตำรวจแม่จัน เชียงราย จับสึกพระเมาเหล้าขอปัจจัย
- เจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน อนุโมทนา “ปิดเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยกองมู ( ลอยกระทงสวรรค์) ประจำปี 2567”
- “น้องโบว์ลิ่ง” คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดหนูน้อยนพมาศเมืองยวมใต้ ประจำปี 2567