วันพฤหัสบดี, 21 พฤศจิกายน 2567

ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนลงพื้นที่ชายขอบ 2 อำเภอโซนใต้ ตรวจเยี่ยมนักเรียนในพระราชานุเคราะห์

Social Share


ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนลงพื้นที่ชายขอบ 2 อำเภอโซนใต้ ตรวจเยี่ยมนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วันที่ 16 มีนาคม 2565 นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมด้วย นางจิราภรณ์ โมสิกรัตน์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดแม่ฮ่องสอน กรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจนในพื้นที่ อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย โดย อำเภอแม่สะเรียง เดินทางมอบ 2 จุด คือ ณ โรงเรียนแม่สะเรียงบริพัตรศึกษา จำนวน 11 ราย จาก 4 นักเรียน 4 โรงเรียน ประกอบไปด้วย โรงเรียนแม่สะเรียงบริพัตรศึกษา 7 คน โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์ 2 คน โรงเรียนเฉลิมรัชวิทยาคม 1 คน และ วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง 1 คน หลังจากนั้นได้ เดินทางเยี่ยมเด็กนักเรียนชายขอบโรงเรียนบ้านโพซอ ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน จำนวน 3 ราย พร้อมมอบโอวาทแก่นักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ พร้อมมอบอุปกรณ์สิ่งของยังชีพ อาหานสำเร็จรูป แก่ตัวแทนนักเรียนในพระราชานุเคราะห์

ในส่วนของ อำเภอสบเมย คณะฯได้เดินทางไปยัง โรงเรียนสบเมยวิทยาคม โดยมีนักเรียนจาก 3 โรงเรียนประกอบด้วย โรงเรียนสบเมยวิทยาคม โรงเรียนล่องแพวิทยา และ โรงเรียนบ้านเลโคะ เดินทางมารับมอบทุนการศึกษาทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน และนายกเหล่ากาชาดจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พบปะ สอบถามผลการเรียน และการใช้จ่ายเงินพระราชทาน แก่นักเรียนในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 16 ราย พร้อมมอบโอวาทแก่นักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ และได้มอบทุนการศึกษา จำนวน 11 ทุน พร้อมมอบอุปกรณ์สิ่งของยังชีพ อาหานสำเร็จรูป แก่ตัวแทนนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ ซึ่งทุนประกอบไปด้วย ทุนการศึกษาสำหรับระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ทุนละ 6,500 บาท ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทุนละ 8,000 บาท เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนยากจนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และแบ่งเบาภาระทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนได้ในระดับหนึ่ง และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบครัวมีความสุข อีกทั้งเพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจ ก่อเกิดแรงจูงใจให้แก่นักเรียนมีความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียนต่อไป