โรงเรียนแม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา” สืบสานการแสดงโขน ศิลปวัฒนธรรมชั้นสูง ให้เด็กและเยาวชน ได้มีใจรักและหวงแหนศิลปวัฒนธรรมไทยให้สืบทอดดำรงต่อไป
วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานในการเปิดการแสดงโขนรามเกียรติ์ ตอน รามาวตาร ของโรงเรียนแม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา” โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน, นายทองเลื่อน บุญเพ็ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแม่ฮ่องสอน ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรแม่สะเรียง , หัวหน้าส่วนราซการและหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , ผู้บริหาร โรงเรียนแม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา”คณะครู คณะทำงาน พี่น้องประชาชน นักเรียนนักและนักแสดงทุกคน เดินทางเข้าร่วมชมการแสดงอย่างล้นหลาม ตั้งแต่เวลา 18.00 น.- 23.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์แม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
นายสุรเชษฐ์ พุ้ยน้อย นายอำเภอแม่สะเรียง กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมชมสู่แม่สะเรียงเวียงงาม เมืองแห่งความสุข ตามแบบอย่างแห่งวิถีพหุวัฒนธรรมและความหลากหลายของชาติพันธุ์ ผสมผสานกลมกลืนกันอย่างลงตัว ท่ามกลางวิถีชีวิตของผู้คนชาวแม่สะเรียง ที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี เรียบง่าย และอ่อนโยน การแสดงโขนของ นักเรียนโรงเรียนแม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา” ที่ได้ริเริ่มโครงการซึ่งแสดงถึงเจตจำนงอันมุ่งมั่นในอันที่จะสืบสานงานศิลป์ การแสดงโขน มรดกของไทย ส่งต่อไปยังเด็กและเยาวชนให้มีใจรัก และหวงแหนศิลปวัฒนธรรมไทยให้สืบทอดดำรงต่อไปเรื่องรามเกียรติ์ ตอน รามาวตาร การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน รามาวตาร
โดยชุมนุมโขนบริพัตร ของโรงเรียนแม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา” ในวันนี้ ถือเป็นการนำเอาศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทย ที่มีความสง่างามและอ่อนช้อยเป็นศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนง ซึ่งกว่าจะมาเป็นโขนในวันนี้ได้นั้น นักเรียนที่เป็นนักแสดง ต่างฝึกซ้อมอย่างหนัก ครูผู้ฝึกสอนต่างทุ่มเทอย่างที่สุด ซึ่งได้รับทราบมาเป็นระยะและต่อเนื่องจากผู้อำนวยการโรงเรียน และที่สำคัญ การแสดงครั้งนี้ เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจของหลายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งชุมชนและผู้ปกครอง ที่ได้ให้การสนับสนุนส่งเสริม จนทำให้เกิดกิจกรรมดี ๆอย่างนี้ขึ้น และนอกจากนี้ สถานที่ในการจัดแสดงโขนครั้งนี้ ได้กำหนดเป็นพิพิธภัณฑ์แม่สะเรียง อันเป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของแม่สะเรียง และยังมีนัยความหมายที่เป็นศูนย์รวมใจของชาวแม่สะเรียงอย่างชัดเจนและอาจเป็นส่วนสำคัญที่จะเกิดแรงผลักดันให้ก้าวเดิน ให้มีการปรับปรุง พัฒนา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ให้มีความหมายแห่งวิถีชาวแม่สะเรียงอย่างงดงามในโอกาสต่อไป
นายทองเลื่อน บุญเพ็ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า โขน เป็นศิลปวัฒนธรรมของไทย ที่ยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงและสนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดแสดงในนามโขนพระราชทาน โดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ โดยนาฎศิลปีนชั้นนำ จากกองการสังคีตกรมศิลปากร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรุงเทพฯ ซึ่งมีนักแสดงเป็นนักเรียนและนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์ จากทั่วประเทศ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แต่ก็มีการจัดแสดงอยู่ในอีกไม่กี่ครั้ง
สำหรับการจัดแสดงโขนรามเกียรติ์ ตอน รามาวตาร ครั้งนี้ เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการฝึกอบรมนักเรียนในชมรมโขนบริพัตร โดยมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนแม่สะเรียง”บริพัตรศึกษา” และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนใกล้เคียง ได้แก่ โรงเรียนชุมชนบ้านน้ำติบ โรงเรียนอนุบาลแม่สะเรียง (บ้านโป่ง) และโรงเรียนอนุบาลธารทิพย์ จำนวนรวม53 คน ทุกคนต่างทุ่มเท ฝึกซ้อมด้วยความมุ่งมั่น และได้รับการประสานโครงการจากสถาบันพัฒนาการเรียนรู้เพื่อชุมชน (สรช.) ชมรมนาฎยโขนละคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรผู้ฝึกสอนจาก โรงโขนเพชรบุรี โดยครูฤทธิชัย ชำนิราชกิจ ควบคุมการฝึกซ้อมโดย น.ส.ไอริณ พันธ์เสนา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ พร้อมด้วยคณะครูในกลุ่มสาระ นอกจากนั้น ยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท น้ำมันอพอลโล่(ไทย) จำกัด และได้รับการสนับสนุนคณะทำงาน วัสดุอุปกรณ์ประกอบฉากเวที จากหน่วยงานต่าง ๆจาก วิทยาลัยนาฎศิลป์เชียงใหม่
เรื่องมาใหม่
- (คลิป) เชียงราย เพื่อไทยเปิดตัว ผู้สมัครชิงนายก อบจ. ทักษินส่งวีดีโอพิเศษ ขอเสียงคนเชียงรายเทคะแนนเลือกตั้ง
- (คลิป) เชียงราย อากาศหนาว นักท่องเที่ยวแห่จองห้องพักจนเต็มยาวถึงปีหน้า
- ผู้ว่าฯแม่ฮ่องสอน รองเลขานายกฯ ยืนยัน ท่องเที่ยวปลอดภัย ไม่มีเหตุการณ์ปะทะฝั่งตรงข้ามแนวชายแดน
- แม่ฮ่องสอน แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 72 ปีการศึกษา 2567
- ขสป.สาละวิน เคาะประตูบ้าน 10 หมู่บ้าน 40 หย่อมบ้าน ตั้งเป้าลดการเผาไหม้พื้นที่ป่า 30% ในปี 2568