อุทยานวิทยาศาสตร์ มช. ผนึก บริษัท EV Power Energy ร่วมภาครัฐและเอกชน จัดสัมมนา ผลักดันเทรนด์เทคโนโลยีพลังงานสะอาด
เมื่อวันที่ 27 ต.ค.66 ที่ห้องประชุม Rice Grain Auditorium อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บริษัท EV Power Energy ได้ผนึกหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา จัดงานสัมมนา “เทคโนโลยีพลังงานสะอาด”ในหัวข้อ MEGA TREND of ENERGY อัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีพลังงานสะอาดและมาตรฐานที่ถูกต้อง 2024 ขึ้น โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนากว่า 350 คน
นายรัฐกิจ ใยดี ผู้ก่อตั้งบริษัท EV Power Energy เปิดเผยว่า การจัดสัมมนาในครั้งนี้ธีมงานคือ SDGS เป็นเรื่องของความยั่งยืน เทคโนโลยี โซล่าเซลล์ EV Powerและพลังงานสะอาดมารวมไว้หมด ทั้งอาคารประหยัดพลังงาน รถ โดยเฉพาะอาคารลดฝุ่น pm2.5 ซึ่งเป็นปัญหาของคนเชียงใหม่และภาคเหนือมาทุกปี เนื่องจากเชียงใหม่ต้องมีพื้นที่ปลอดฝุ่นหรือสร้างพื้นที่ปลอดฝุ่นในช่วงที่เกิดวิกฤต การสัมมนาในครั้งนี้ได้เชิญผู้ที่สามารถผลิตอาคารลดฝุ่นได้มาให้ความรู้ว่าถ้าทำระบบโครงสร้างต่างๆ แล้วสามารถลดฝุ่นได้ถึงร้อยละ 70 และถ้าใช้ระบบโซลาเซลล์อีกก็สามารถลดการใช้พลังงานและทำให้เป็นอาคารพลังงานสะอาดด้วย
ในการสัมมนาวันนี้มีหลายหัวข้อที่น่าสนใจตลอดทั้งวัน ทาง PEA มาอัพเดทมาตรฐานการติดตั้ง Solar cell และ EV Charger 2024 ทางหัวเหว่ย โดยคุณฐิตินันท์ ตรงเจริญชัย ผจก.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ หัวเหว่ยเทคโนโลยีประเทศไทย มาอัพเดทเรื่อง Huawei Smart PV Solutions for Residential and Market Trend คุณเทพฤทธิ์ ทิพย์ชัชวาลวงศ์ CEO Coral Life มาพูดถึง Energy-efficient and Clean-Air Building Technology ภาคบ่ายตนจะพูดเรื่องบันได 3 ขั้น สร้างรายได้จากคาร์บอน,อัปเดตผลิตภัณธ์ Ginka EV Charger,ทางคุณมานพ ธรรมสิริอนันต์ ประธานกรรมการบริหาร บ. ชิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด(มหาชน) คุณสุดชาย จงพิพิธพร ประธานกรรมการบริหารบ.มีเทเน่(สยาม)จำกัดและดร.เชรษฐา รัตนพันธ์ จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีลาดกระบัง มาร่วมพูดคุยถึงเรื่อง Current and Future R&D In Green Power Storage คุณธานี ตรีวัฒนาวงศ์ ที่ปรึกษาด้านธุรกิจกับคุณอาคม สุวรรณกันธา ประธานสมาพันธ์ SME ไทย จังหวัดเชียงใหม่ร่วมพูดคุยถึงเรื่องอนาคตพลังงานใหม่ทำไมต้องเป็นจีน เป็นต้น
นายรัฐกิต กล่าวอีกว่า ในอนาคตข้างหน้า 10-20 ปี เชื่อว่าธุรกิจพลังงานสะอาดจะมากกว่า 90% เพราะประเทศไทยจะมุ่งสู่คาร์บอนมินิตี้ในปี 2050 ขณะที่กลุ่มประเทศทางยุโรปเขากำหนดเป้าหมายไว้ในปี 2030 แต่ของไทยกำหนดเป้าหมายในปี 2065 เพราะประเทศไทยให้เหตุผลว่าเราเป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นครัวของโลกแม้จะมีการปล่อยก๊าซมีเทนสู่อวกาศ แต่ไทยบอกภายใน 15 ปีจะลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนลง ส่วนแนวโน้มของพลังงานสะอาดประชาชนจะสามารถเข้าถึงมากขึ้น เพราะราคาแผงโซล่าเซลล์ก็จะลดลงและทำให้ร้อยละ 90 ทำให้เราสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลได้
ทางด้าน นายเทพฤทธิ์ ทิพย์ชัชวาลวงศ์ CEO Coral Life กล่าวว่า บริษัทฯได้สร้างอาคารประหยัดพลังงานและปลอดฝุ่นขึ้นมา โดยใช้องค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมมาทำงานควบคู่ เพื่อสร้างอาคารประหยัดพลังานได้ถึงร้อยละ 70 ขึ้นไป รวมทั้งทำให้คุณภาพอากาศที่ดี เป็นอาคารปลอดฝุ่น ลดสารก่อมะเร็งและก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นการออกแบบเฉพาะ แม้ว่าการออกแบบและค่าดำเนินการจะสูงกว่าอาคารปกติร้อยละ 20 แต่จุดคุ้มทุนในการดำเนินการก่อสร้างอยู่ที่ 5-7 ปีถัดมา เพราะนอกจากจะสามารถลดค่าไฟ ปลอดฝุ่นpm2.5 เป็นอาคารที่ใช้งานจริงและได้ผ่านการทดสอบและได้รับใบประกาศรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียว ซึ่งเป็นมาตรฐานโลกและมีต้นกำเนิดที่เยอรมันด้วย โดยอาคารสำนักงานบริษัทตั้งอยู่ที่สุขุมวิท 39 กรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีอาคารของลูกค้าอีก 7-8 โครงการในกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วนที่ต่างจังหวัดก็มีที่ระยองด้วย
เรื่องมาใหม่
- SUN ประชุมประจำปี เดินหน้าขับเคลื่อนแผนธุรกิจปี 2568 ปักหมุดความยั่งยืน ขยายตลาดพร้อมรับทุกความท้าทาย
- เทศบาลเมืองแม่เหียะ อปท.แห่งแรกของเชียงใหม่ เปิดบริการงานบัตรประจำตัวประชาชนอย่างเป็นทางการ
- (คลิป) เชียงราย รวบหนุ่มหนีหมายจับขี้ระแวงพกปืนทำชาวบ้านผวา โวยิงแม่น 20 เมตรไม่พลาด
- ชมรมพ่อค้าแม่ค้าเชียงราย ไม่ขอทน บุกศาลากลางร้องผู้ว่า ถูกนายทุนต่างถิ่นผูกขาดจัดงานประจำปี
- เริ่มแล้ว “มหกรรมสีสันล้านนาตะวันออก” ครั้งที่ 3 หน้าด่านพรมแดนแม่สาย