วันจันทร์, 23 ธันวาคม 2567

ภัยแล้งส่อเค้ารุนแรง ชาวแม่สะเรียง ผญบ. นำราษฎร 9 หมู่บ้าน ร่วมสร้าง 3 ฝาย กักเก็บน้ำไว้ใช้

Social Share

วันที่ 15 มกราคม 2564 ที่บริเวณ ฝายลำน้ำแม่สะเรียง ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน นายแดง พูลน้อย ผู้ใหญ่บ้านป่ากล้วย หมู่ที่ 8 ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ผู้ใหญ่บ้านป่ากล้วย หมู่ 8 ในฐานะ ประธานฝ่ายลำน้ำแม่สะเรียง ได้นำ ชาวบ้านสมาชิกเหมืองฝาย จำนวนกว่า 300 คน จาก 9 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย บ้านป่ากล้วย บ้านนาคาว บ้านทุ่งพร้าว บ้านดงสงัด บ้านไร่ บ้านหนองผักหนาม บ้านโป่ง บ้านในเวียง บ้านจอมแจ้ง ซึ่งเป็นกลุ่มบ้านที่ใช้ประโยชน์จากลำเมืองและ ประชาชนที่ใช้ประโยชน์สองฝั่งลำน้ำแม่สะเรียง ร่วมกันจัดทำฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือ ฝายน้ำล้น จำนวน 3 ฝาย

โดยทำบริเวณเหนือฝายลำน้ำแม่สะเรียง จำนวน 3 จุด ห่างกันจุดละประมาณ 300 เมตร มีความยาวของหน้าฝายประมาณ 20 เมตร และ ความหนาของฝายประมาณ 2 เมตร โดยได้รับการสนับสนุนกระสอบทรายจากชลประทานแม่สะเรียง จำนวน 4,000 ใบ และ ภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนทุนทรัพย์และน้ำดื่ม ให้กับชาวบ้านที่มาร่วมกิจกรรมทำฝาย อำเภอแม่สะเรียงได้ร่วมสนับสนุนกำลังพล เจ้าหน้าที่ อส.แม่สะเรียง เจ้าหน้าที่กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 337 แม่สะเรียง และ เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรแม่สะเรียง ชุดมวลชนสัมพันธ์แม่สะเรียง เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สะเรียง เป็นต้น

ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก สถานการณ์ความแห้งแล้งมีแนวโน้มส่อเค้าทวีความรุนแรง ประกอบกับ ลำน้ำแม่สะเรียง ท้ายฝายมีสภาพแห้งแล้งน้ำตื้นเขิน เป็นดอนทราย ส่งผลกระทบกับผู้ใช้น้ำ เกษตรกรที่ราบลุ่ม จึงต้องจัดทำฝายเพื่อกักน้ำ ชะลอน้ำเข้าฝาย เพื่อให้เพียงพอในการเกษตรในห้วงฤดูแล้งที่จะมาถึง ซึ่งยังคงมีราษฏรที่ต้องการใช้น้ำจากการปลูกพืชผักทางการเกษตร อาทิ กระเทียม ถั่งเหลือง กว่า 3 พันไร่ จึงเป็นที่มาของการร่วมตัวของราษฏรผู้ใช้น้ำ เกษตรกรสองฝากฝั่งลำน้ำแม่สะเรียงในการร่วมด้วยช่วยกันสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ในในหน้าแล้ง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เปิดแล้ว!! ชาวบ้านแม่ฮ่องสอนดีใจ ผู้ว่าฯ เปิดจุดผ่อนปรนแม่สามแลบให้ค้าขายได้
ชาวบ้านสบเมย ฮือฮา “ไม้งิ้วล้มแล้วลุก” เชื่อปาฎิหารย์ ปลุกคนสู้ชีวิตยุคโควิด เหมือนตายแล้วเกิดใหม่
Baby Bunker โรงเรียนบ้านท่าตาฝั่งเตรียม สร้างพื้นที่ปลอดภัยจากการสู้รบแนวชายแดนสู่การเรียนรู้
ทต.แม่สะเรียง เคาะประตูบ้าน – ร้านค้า รณรงค์เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก
เกษตรกรแม่ฮ่องสอน สุดช้ำวอนช่วยซื้อ ฟักทองราคาตกเหลือ กิโลละ 1 – 2 บาท ยังไม่มีคนซื้อ
วันงดสูบบุหรี่โลก แม่ฮ่องสอน พัฒนาสถานที่ตลาดสดปลอดบุหรี่ ลดเสี่ยง ป้องกันโควิด19