ลำพูน คุมเข้มร้านสะดวกซื้อทุกแห่งต้องป้องกันไวรัสโควิด 19 ตามข้อบังคับ ฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงถึง 1 แสน จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
6 เม.ย. 63 : นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลำพูน เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ได้ออกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลำพูน ที่ 11/2563 เรื่อง ห้ามมิให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดลำพูนออกจากเคหะสถานหรือบริเวณที่พำนักของตน โดยไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และนายรักฐมนตรีได้ออกข้อกำหนด ซึ่งออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 เพื่อเป็นข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการภายใต้หลักเกณฑ์เงื่อนไขและเงื่อนเวลา นั้น
เพื่อให้การควบคุม ป้องกันการแพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 ไม่ให้มีการแพร่กระจายการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่จังหวัดลำพูน จึงมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการเข้มงวดและเร่งด่วนเพื่อควบคุมมิให้โรคแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 และมาตรา 34 (6) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องแต่งตั้งเจ้าพนักงานคบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ในฐานะเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลำพูน ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 ประกอบข้อ 7 (1) และข้อ 11 ของข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 จึงมีคำสั่งกำหนดมาตรการเร่งด่วนในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 สำหรับร้านสะดวกซื้อ หรือร้านอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ และซุปเปอร์มาร์เก็ต ดังต่อไปนี้
- ให้จำกัดจำนวนคนที่จะเข้ามาซื้อสินค้า โดยพิจารณาตามสัดส่วนพื้นที่ภายในร้านที้งหมด โดยไม่หักชั้นวางของ ตู้แช่แข็ง ตู้แช่เย็น เคาน์เตอร์ชำระเงิน ฯลฯ ต้องไม่เกิน 1 คน ต่อ 5 ตารางเมตร และต้องติดป้ายประกาศจำกัดจำนวนคนที่จะเข้ามาซื้อสินค้าบริเวณหน้าร้านให้ชัดเจน และควบคุมจำนวนคนให้เป็นไปตามประกาศ
- ให้จำทำสัญลักษณ์จุดยืนขณะรอลำดับการเข้ามาซื้อสินค้าบริเวณหน้าหร้าน และขณะรอชำระเงินภายในร้าน โดยให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร
- ให้จัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิของผู้ที่จะเข้ามาซื้อสินค้า หากพบอุณหภูมิกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไม่อนุญาตให้เข้าภายในร้าน และแนะนำไปรับบริการตรวจรักษาตามระบบบริการสาธารณสุขและจัดให้มีจุดที่ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล บริเวณประตูทางเข้า และบริเวณเคาทเตอร์ชำระเงิน
- ให้จัดทำสัญลักษณ์เส้นทางเดินภายในร้านเป็นทางเดียว ไม่มีการเดินสวนทางกัน และจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้มาซื้อสินค้าโดยมีระยะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
- ไม่อนุญาตให้ผู้ซึ่งไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเข้ามาเลือกซื้อสินค้าภายในร้าน
- พนักงานของร้านทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
- ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นและบริเวณพื้นผิวสัมผัสร่วมกัน เช่น ที่จับตู้แช่แข็ง ที่จับตู้แช่เย็น เคานเตอร์ชำระเงิน เป็นต้น ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือแอลกอฮอล์ 70% ทั้งก่อนและหลังการเปิดให้บริการ รวมทั้งมีการกำหนดรอบการทำความสะอาดภายในร้าน อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง และให้มีความถี่มากขึ้นในช่วงเวลาที่มีจำนวนคนที่มีสินนค้าแออัด
อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี (หนึ่งปี) หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาท) หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
เรื่องมาใหม่
- AIS ผนึก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจไซเบอร์เปิด “มาตรการระเบิดสะพานโจร” บุกรวบจีนเทา พร้อมเครื่องส่ง SMS ปลอม
- เชียงราย จัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบกลไกเครือข่ายทีมสหวิชาชีพด้านเด็กและเยาวชน
- (คลิป) ตำรวจแม่จัน เชียงราย จับสึกพระเมาเหล้าขอปัจจัย
- เจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน อนุโมทนา “ปิดเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยกองมู ( ลอยกระทงสวรรค์) ประจำปี 2567”
- “น้องโบว์ลิ่ง” คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดหนูน้อยนพมาศเมืองยวมใต้ ประจำปี 2567