วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

เปิดย่านสร้างสรรค์เชียงใหม่พลิกฟื้นท้องถิ่นใน “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2566” กับ 4 มุมลับ ‘ย่านช้างม่อย’ ที่หลายคนมองข้าม

Social Share

เปิดย่านสร้างสรรค์เชียงใหม่ไปกับ “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2566” หรือ “Chiang Mai Design Week 2023” ภายใต้แนวคิด ‘TRANSFORMING LOCAL: ปรับตัว ต่อยอด ท้องถิ่น เติบโต’ ที่จะขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 10 ธันวาคมนี้

 ‘ย่านช้างม่อย’ ย่านที่ผสมผสานความเก่า-ใหม่ และผู้คนต่างเจเนอเรชัน

ถ้าพูดถึงย่านสร้างสรรค์และเป็นย่านท่องเที่ยวของเชียงใหม่แล้ว ตอนนี้ย่านที่ได้รับความสนใจและเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ ‘ย่านช้างม่อย’ เนื่องจากย่านช้างม่อยนั้นแต่ก่อนเคยเป็นย่านการค้าหลักของเมืองเชียงใหม่แต่ด้วยวันเวลาที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ความสนใจของผู้คนก็เปลี่ยนไปตามด้วยเช่นกัน จึงทำให้อาคารบางแห่งถูกปล่อยทิ้งไว้หรือใช้เป็นสถานที่เก็บของเพียงเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ย่านช้างม่อยนั้นได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เนื่องจากมีคนรุ่นใหม่ได้เล็งเห็นถึงเสน่ห์ของย่านนี้ จึงได้มีการฟื้นฟูธุรกิจต่าง ๆ ในย่านช้างม่อยให้กลับมาคึกคักอีกครั้งภายใต้อาคารเก่าแก่สุดโมเดิร์นที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ผสมผสานความใหม่กับความเก่าเข้าไว้ด้วยกัน โดยยังคงเสน่ห์ของตัวอาคารเดิมและเรื่องราวของชุมชนย่านช้างม่อยเอาไว้ จึงทำให้ย่านช้าง

ม่อยนั้นเป็นที่น่าสนใจของเหล่านักสร้างสรรค์ที่จะมาสร้างไอเดียใหม่ ๆ ภายในพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นย่านที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ทิ้งรากเหง้า

#CMDW2023 พลิกฟื้นเติมเต็มบรรยากาศสร้างสรรค์กับ 4 มุมลับ ‘ย่านช้างม่อย’

เทศกาลฯ ปีนี้นำเสนอ 4 มุมลับที่น่าสนใจใน ‘ย่านช้างม่อย’ ที่ถูกเติมเต็มบรรยากาศสร้างสรรค์ด้วย  Digital Art Installations ในพื้นที่แห่งนี้ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ผ่านเรื่องราวและแนวคิดใหม่ ๆ พบกับ 4 มุมลับที่รอให้ทุกคนได้ค้นหาแและร่วมสร้างสรรค์ไปด้วยกัน

  1. ซุ้มประตูโขงวัดชมพู (Pagoda Local)
    Projection Mapping by Kor.Bor.Vor Visual Label

คนเชียงใหม่หลายคนอาจจะรู้ดีว่าพระธาตุหรือเจดีย์วัดชมพูในย่านช้างม่อย ถูกสร้างให้เป็นเจดีย์คู่แฝดกับพระธาตุดอยสุเทพซึ่งซุ้มประตูนี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาเก่าแก่ โดยปัจจุบันมีบ้านเรือนมากมายที่สร้างขึ้นใกล้กับบริเวณวัด ทำให้บดบังซุ้มประตูนี้จึงทำให้ซุ้มประตูโขงวัดชมพูเป็นอีกหนึ่งมุมลับที่กลุ่มศิลปินมัลติมีเดียสมัยใหม่เจ้าของงานสื่อผสมแบบ Site Specific อย่าง Kor.Bor.Vor. Visual Label ตั้งใจสร้างสรรค์งาน Projection Mapping ให้สอดคล้องไปกับความสวยงามของซุ้มประตู ด้วยประติมากรรมจักสานขนาดใหญ่ที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับเจดีย์มาเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่

  1. สะพานแดงข้ามคลองแม่ข่า (The Connection Bridge)

Projection Mapping by Kor.Bor.Vor Visual Label

อีกหนึ่งมุมลับในชุมชนช้างม่อยคือ ‘สะพานแดง’ สะพานเล็ก ๆ บนคลองแม่ข่า ที่คนในชุมชนใช้เป็นทางลัดไปยังถนนราชวงศ์มาอย่างยาวนานและเป็นครั้งแรกของเทศกาลฯ ที่จะใช้สะพานนี้เป็นอีกหนึ่งเส้นทางชมงานเพื่อให้ทุกคนได้เดินสำรวจชุมชน โดยทีม

Kor.Bor.Vor. Visual Label ก็ได้สร้างสรรค์ผลงาน Digital Art สร้างชีวิตชีวาให้พื้นที่รอบสะพานเปลี่ยนจาก ‘ทางผ่าน’ สู่อีกหนึ่งจุดเช็กอินเก๋ ๆ ที่ต้องไม่พลาดแวะชม

  1. ห้องแถวห้าห้อง (Original Five)

Projection Mapping by Kor.Bor.Vor Visual Label

มุมลับต่อมา ที่ถนนราชวงศ์  ซอย 3 ‘ห้องแถวห้าห้อง’ ซึ่งเป็นตึกทรงโมเดิร์นในสมัยก่อนของย่านการค้าเก่าแก่นี้ โดยปัจจุบันอยู่ในช่วงของการปรับปรุงเพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ให้สอดคล้องไปกับการเปลี่ยนแปลงของย่านนี้ ซึ่งทีม Kor.Bor.Vor. Visual Label ได้ใช้ตึกห้าแถวนี้เป็นสถานที่บอกเล่าการเปลี่ยนแปลงของย่านช้างม่อยผ่านงานภาพเคลื่อนไหว ที่บอกเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงเอกลักษณ์ของการค้าขายในชุมชนแบบเก่า ผ่านมุมมองภาพถ่าย ผสมเทคนิค Photo Motion

  1. ธน-อาคาร (เปิ้นสานฉัน)
    Projection Mapping by Decide Kit

ปิดท้ายที่ ธน-อาคาร หนึ่งในสถานที่จัดงานไฮไลต์ของเทศกาลฯปีนี้ แต่ก่อนเคยเป็นที่ตั้งของธนาคารพาณิชย์ชื่อดัง เป็นอาคารที่มีฟาซาด (facade) ที่ผิวหน้าของอาคารมีลวดลายคล้ายรวงข้าว ซึ่งเป็นจุดเด่นของอาคารแห่งนี้และยังเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นของย่านนี้ด้วย ที่ผสมผสานกับโชว์สนุกๆ ของกลุ่มศิลปิน Decide Kit ผู้อยู่เบื้องหลังของงาน แสง-สี-เสียง กับโปรเจ็กต์ ‘เปิ้ลสานฉัน’ ที่จะมาสร้างสรรค์เรื่องราวของงานจักสาน ซึ่งเป็นการค้าขายที่เคยรุ่งเรืองในอดีตให้กลับมามีสีสันอีกครั้ง ด้วยดิจิทัลอาร์ตรูปแบบใหม่

ทั้งหมดนี้เป็นแค่บางส่วนของมุมลับที่มาพร้อมกับไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จากกลุ่มศิลปินสมัยใหม่ นอกจากนี้ยังมีการแสดงสร้างสรรค์ที่ปลุกบรรยากาศภายในย่านช้างม่อย กับ ‘Len Yai: Performance Arts’ ผลงานคัดสรรและออกแบบการแสดงโดย ชัยวัฒน์ โล่โชตินันท์ และโปรดิวเซอร์ อภิชัย เทียนวิไลรัตน์ ซึ่งเชื่อมผสานเหล่าศิลปิน นักแสดง และนักสร้างสรรค์หลากแขนงทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 40 ชีวิต ให้มาร่วมเปิดการแสดงแบบเฉพาะพื้นที่ (Site Specific) ตลอด 9 วันของเทศกาลฯ (วันละ 1 รอบ) ใน 8 พื้นที่ของย่านช้างม่อยและถนนราชวงศ์ เช่น การแสดงชุด ‘หลงรัก (Crush On)’ การแสดงระบำร่วมสมัยและพิณเปี๊ยะ ที่แสดงออกถึงความรักในมิติต่าง ๆ อย่างร่วมสมัย ในวันที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 18.00 น. ณ ดาดฟ้า ตึกมัทนา และ ‘ชีวิตเลือกได้ (Choose Life)’ จากกลุ่มนักแสดงและนักสร้างสรรค์หญิงของภาคเหนือ จำนวน 15 ท่าน ที่จะมาถ่ายทอดท่าระบำในแบบฉบับของแต่ละคน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2566 เวลา 19.00 น. ณ วัดชมพู

สุดท้ายนี้นอกจาก ‘ย่านช้างม่อย’ ที่เป็นพื้นที่หลักของการจัดงานในปีนี้แล้ว ก็ยังมี ‘ย่านกลางเวียง’ ที่พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (Lanna Folklife Museum) มีเวิร์กช็อปให้ร่วมสนุกมากมาย และสายช้อปปิ้งต้องไม่พลาด Pop Market (เปิดทุกวัน 16.00 – 22.00 น.) มีทั้งงานออกแบบ สินค้าไลฟ์สไตล์ ของที่ระลึก อาหารและขนมท้องถิ่นฟิวชัน ส่วนด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ยังมี

นิทรรศการและกิจกรรมสร้างสรรค์ของหอภาพถ่ายล้านนา แล้วพบกัน “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2566” หรือ “Chiang Mai Design Week 2023”  2 – 10 ธันวาคม 2566 นี้

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.chiangmaidesignweek.com หรือ Facebook: Chiang Mai

Design Week  #ChiangMaiDesignWeek2023 #CMDW2023 #TransFormingLocal