วันศุกร์, 10 มกราคม 2568

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) “เพิ่มศักยภาพ SME ไทย ด้วยแผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 5 . ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม

Social Share

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) “เพิ่มศักยภาพ SME ไทย ด้วยแผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 5 . ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570)

คณะรัฐมนตรีในครำวประชุมเมื่อวันที่ 20 กันยำยน 2565 ได้มีมติเห็นชอบ ดังนี้ เห็นชอบแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570)

ซึ่งเป็นกรอบแนวทำงกำรด ำเนินงำนในกำรส่งเสริม SME ของประเทศ และให้ใช้แผนกำรส่งเสริม SMEฯ เป็นแนวทำงในกำร
จัดท ำแผนปฏิบัติกำรส่งเสริม SME และกำรจัดท ำงบประมำณในส่วนที่เกี่ยวกับกำรส่งเสริม SME โดยบูรณำกำรร่วมกันกับ
หน่วยงำนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ให้ สสว. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดท าแผนปฏิบัติการฯ ประจ าปี และงบประมาณ เพื่อกำรขับเคลื่อน โดยให้หน่วยงำนต่ำง ๆ
ที่ประสงค์ขอรับจัดสรรงบประมำณได้มีส่วนร่วมในกำรจัดท ำโครงกำรที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติกำรฯ ก่อนจะน ำเข้ำสู่ขั้นตอน
กำรจัดสรรงบประมำณ

ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการด าเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ต่อ สสว. โดยใช้หนึ่งรหัส หนึ่งผู้ประกอบการ (SME One ID)
ในกำรรำยงำนข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบกำร SME ที่เข้ำร่วมโครงกำรและเข้ำรับกำรบริกำรเป็นประจำทุกปี

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570)

วิสัยทัศน์

“ไทยมี SME ที่เข้มแข็ง มีศักยภาพและสามารถแข่งขันได้”

พันธกิจ

-ส่งเสริม SME ทุกกลุ่มอย่างครอบคลุมให้เข้มแข็งและเติบโต

-สร้างโอกาสทางการตลาดเพื่อยกระดับศักยภาพธุรกิจให้มีความสามารถในการแข่งขัน

-พัฒนาระบบนิเวศให้เอื้อต่อการเติบโตที่ยั่งยืนของธุรกิจ

เป้าหมายของแผน

ภาคธุรกิจ SME ไทยมีบทบาททางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งมากขึ้นในทุกระดับ สามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้

ตัวชี้วัด

สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคธุรกิจ SME ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มเป็นร้อยละ 40 ในปี 2570

ประเด็นการส่งเสริม SME

          ในการที่จะบรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ แผนการส่งเสริม SME ในระยะ 5 ปีข้างหน้า จึงกำหนดแนวทางการดำเนินงานไว้ 3 ประเด็นการส่งเสริม ดังนี้

ประเด็นการส่งเสริมที่ 1 สร้างการเติบโตที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม

มุ่งเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการในแต่ละกลุ่มที่มีระดับศักยภาพต่างกัน มีสถานภาพ ปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์ คือ

1.พัฒนาธุรกิจในระยะเริ่มต้นให้เริ่มธุรกิจได้อย่างมั่นคง

2.ยกระดับธุรกิจที่มุ่งเติบโตให้มีศักยภาพในการแข่งขัน

3.ยกระดับธุรกิจสู่การแข่งขันระดับโลก

4.ฟื้นฟูธุรกิจที่ประสบปัญหาให้ฟื้นตัว

5.ช่วยเหลือธุรกิจยังชีพให้สามารถอยู่รอดได้

6.สนับสนุนผู้ประกอบการสูงอายุในการดำเนินธุรกิจ

7.ส่งเสริมเกษตรกรสู่การทำธุรกิจแบบมืออาชีพ

ประเด็นการส่งเสริมที่ 2 สร้างการเติบโตแบบมุ่งเป้า

          ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ทั้งเรื่องการสนับสนุนการตลาดที่รอบด้าน และการส่งเสริม SME กลุ่มที่มีศักยภาพให้สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ

8.สร้างส่วนแบ่งตลาดในประเทศให้เพิ่มขึ้น

9.ส่งเสริมการเข้าสู่สากล

ประเด็นการส่งเสริมที่ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมให้สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ

เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ SME สามารถเริ่มธุรกิจและเติบโตได้เต็มศักยภาพ ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ คือ

10.สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

11.สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

12.สร้างความพร้อมของแรงงานและบุคลากร

13.มีศูนย์กลางในการให้ข้อมูล องค์ความรู้ และบริการ

14.ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ

15.พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบาย

High Impact Program: HIP

          การส่งเสริมและพัฒนา SME ภายใต้แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2566-2570) ได้กำหนดให้มีการดำเนินงานที่สำคัญและส่งผลกระทบสูงต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้กับ SME ดังนี้

-การค้ำประกันสินเชื่อ/ ความรู้ทางการเงิน/การร่วมลงทุน

-ตัวกลางด้านเครดิตให้กับ SME

-การให้สินเชื่อโดยไม่อิงหลักประกัน/การมีหลักฐานบนระบบดิจิทัลให้สถาบันการเงิน

-การสนับสนุนให้ขยายขนาดธุรกิจ/ผู้ให้บริการธุรกิจ/Platform การให้บริการ

-การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ/การจัดซื้อจัดจ้างภาคเอกชน/กฎหมายแข่งขันทางการค้า

-National E-Commerce Platform

-ตัวแทนส่งเสริมสินค้า SME ในต่างประเทศ (National Intelligence Center)

-เชื่อมโยง SME เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานโลก

-การประยุกต์ใช้ BCG ในการดำเนินธุรกิจ

-Reskill / Upskill / New Skill / Foreign Talent

-การเข้าสู่ระบบ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายตามแนวทางที่แผนได้กำหนดไว้ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

-สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทำหน้าที่เป็น System Integrator กำกับดูแล ประสานงาน และบูรณาการการขับเคลื่อนการดำเนินงาน รวมทั้งติดตามและประเมินผลการส่งเสริมและพัฒนา SME อย่างมีเอกภาพ เป็นระบบครบวงจรตามหลักการ PDCA

จัดให้มีงบประมาณเพื่อการส่งเสริม SME รวมไว้ที่กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เดียว สำหรับจัดสรรงบประมาณเพื่อการส่งเสริม SME โดยสามารถพิจารณาโครงการได้ตามแผน รวมทั้งมีกลไกการจัดสรรงบประมาณที่ยืดหยุ่น เพียงพอ และต่อเนื่อง

-มีการจัดทำดัชนีการปฏิบัติงานการส่งเสริม SME เพื่อชี้วัดความสำเร็จ รวมไปถึงการติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง