STEP ร่วมกับ ม.ช จัดพิธีมอบรางวัลการออกแบบ พร้อมเชิญชมนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ ทรงคุณค่า สะท้อนอัตลักษณ์ล้านนา ในงาน Creative Design Awards 2022
วันที่ 4 ธันวาคม 2565 อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 เชิงรุก: ล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานประกาศผลพร้อมพิธีมอบรางวัลการออกแบบสร้างสรรค์ (Creative Design Awards) ประจำปี 2022 แก่นักออกแบบเจ้าของผลงานอันโดดเด่น ทรงคุณค่า ทั้งสะท้อนอัตลักษณ์ล้านนา ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการนี้ได้รับเกียรติจาก
นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน โดยมี ผศ.ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี ด้านยุทธศาสตร์ล้านนาสร้างสรรค์และศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การกล่าวต้อนรับ ร่วมด้วย ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรักษาการแทนผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำทีมคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ผู้บริหารอุทยานฯ (STep) พร้อมทั้งคณะที่ปรึกษาและกรรมการตัดสินรางวัล ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศจากหลากหลายสาขา ร่วมงานดังกล่าว เพื่อเป็นสักขีพยานและแสดงความยินดีกับผู้รับมอบรางวัล ก่อนปิดท้ายด้วยการเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานการออกแบบร่วมกัน
ภายในงานมีด้วยกัน 3 ส่วน โดยมีพิธีมอบรางวัล Creative Design Awards 2022 ชูโรง ซึ่งในปีนี้จัดแบ่งประเภทรางวัลออกเป็น 8 สขา ประกอบด้วย สาขาการออกแบบสถาปัตยกรรม สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาการออกแบบสื่อสมัยใหม่ สาขาการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรและการสร้างตราสินค้า สาขาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สาขาดีไชน์เนอร์หน้าใหม่ สาขาล้านนาสร้างสรรค์ และสาขาผลงานจากโปรเจค นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัย ซึ่งมอบให้ผลงานออกแบบสร้างสรรค์และโดดเด่นในสาขาต่าง ๆ ทั้งสิ้น 30 ผลงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจแก่นักออกแบบรุ่นใหม่ได้สร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าเช่นนี้ ในอนาคตต่อไป โดยผลงานดังกล่าว จะถูกจัดแสดงในพื้นที่นิทรรศการ (Creative Design Exhibition) ณ อาคารเรือนฝาไหลของแม่นายคำเที่ยง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันเป็นส่วนหนึ่ง
งานออกแบบเชียงใหม่ 2022 (Chiang Mai Design Week 2022) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 1 1 ธันวาคม 2565 โดย เปิดให้ประชาชนและผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้โดยไม่มีค่ใช้จ่าย นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรม Creative Dessign Networking ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับรางวัลและบุคลากรในแวดวงการออกแบบได้พบปะ พูดคุย เพื่อพัฒนากลยุทธทางการตลาดร่วมกันอีกด้วย งานนี้นักออกแบบและเจ้าของผลงานที่ได้รับการคัดเลือก จะได้รับสิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑและการตลาด อีกทั้งยังได้รับการส่งเสริมในการต่อยอดรางวัลไปสู่เวทีในต่างประเทศ รวมไปถึงการสนับสนุนทั้งในด้านการตลาด การจัดนิทรรศการออนไลน์ การเข้าร่วมงานกิจกรรมต่าง ๆ และการประชาสัมพันธ์ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับรางวัลการออกแบบสร้างสรรค์ (Creative Design Award) นั้น จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 นับตั้งแต่ริเริ่มในปี 2555 โดยในปีนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 เชิงรุก: ล้านนาสร้างสรรค์ ภายใต้การดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) เพื่อยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรด้านความคิดสร้างสรรค์ครอบคลุมใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ได้เห็นถึงความสำคัญของการออกแบบที่มีต่อผลิตภัณฑ์ตลอดจนสร้างชื่อเสียงให้กับนักออกแบบ อีกทั้งเป็นการเชิดชอัตลักษณ์ความเป็นล้านนาที่มีความแตกต่างกันทางด้านมรดกวัฒนธรรมของพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณค่าอันโดนเด่นของล้านนาสร้างสรรค์ สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น อนุรักษ์และส่งเสริมความเป็นท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ ความรู้ด้านล้านนาอย่างเป็นระบบ สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านล้านนาให้กับสถานศึกษาและประชาชน ตลอดจนสามารถนำไปสู่การต่อยอดภูมิปัญญาล้านนาอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของพื้นที่ให้เกิดการ
พัฒนาสู่การเป็นต้นแบบให้กับชุมชน เพิ่มมูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน สนับสนุนการท่องเที่ยว ฟื้นฟูเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่จากฐานรากสู่สากล สำหรับรางวัลการออกแบบสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการออกแบบ ทั้งด้านงานหัตถกรรม ด้านสถาปัตยกรรม ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารด้านการออกแบบสื่อสมัยใหม่ ให้ความสำคัญกับความเป็นล้านนาที่มีความแตกต่างกันทางด้านมรดกวัฒนธรรมของพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณค่าอันโดนเด่นของล้านนาสร้างสรรค์ สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น อนุรักษ์ และส่งเสริมความเป็นท้องถิ่นให้คงอยู่ ซึ่งในปี 2565 นี้ คณะทำงานได้ดำเนินการคัดสรรผู้ที่ได้รับรางวัลการออกแบบสร้างสรรค์ได้กำหนดประเภท ผลงานออกเป็น 8 ประเภทผลงานได้แก่
- Architecture Design
- Product Design
- New Media Design
- Cooperate Identity and Branding
- Packaging Design
- New Face Designer
- Creative Lanna
- Student Project and University Project
โดยได้รับความอนุเคราะห์จากคณะกรรมการ คณะที่ปรึกษา ที่ มีองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ในการออกแบบและการตลาดสร้างสรรค์ ทั้ง 20 ท่าน ซึ่งในปีนี้ได้มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดมากกว่า 150 ที่มาจาก 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ผลงานแต่ละชนิดมีการออกแบบและความโดดเด่นอยู่จำนวนมากจึงได้กำหนดการคัดเลือกผู้ที่ได้รับรางวัลได้มี 3 ขั้นตอนได้แก่ รอบ Longist, Shortlist และ Finalist โดยใช้เวลาคัดเลือกผลงานตั้งแต่เดือนสิงหาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2565 ผลงาน นอกจากผลงานของนักออกแบบแล้วในปีนี้ได้มีการเปิดประเภทผลงานของนักศึกษาเข้าร่วมประกวด จากการคัดเลือกผลงานทั้งหมดในปีนี้จึงมีผู้ที่ได้รับรางวัลการออกแบบสร้างสรรค์จำนวน 23 ผลงาน ได้แก่
- 1. Architecture Design
1.1 คาร์มวิลเลจ
1.2 Tao Cha Tea House - 2. Product Design
2.1 Pebble stool
2.2 MIMB
2.3 ArchiTECT’S GAMBIT
2.4 Recycled Plastic waste to Furniture Design
2.5 Sentiment of upcycling
2.6 Talking THOC
2.7 โคมแสงจันทร์ Moon Lantern - 3. New Media Design
3.1 “ต่อยอดแสงหลวง” วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่
3.2 FONT OA-SATAPUD - 4. Cooperate Identity and Branding
4.1 Yorice Amazake
4.2 Kyu Shi Gai - 5. Packaging Design
5.1 กองหา ครีมบำรุงเครื่องเงิน - 6. New Face Designer
6.1 จิร
6.2 Waste Journey
6.3 ตุ้มหูดอกสายลม - 7. Creative Lanna
7.1 เตวโวยโวย - 8. Student Project and University Project
8.1 โครงการออกแบบอัตลักษณ์ข้อมูลภาพดิจิทัลและเทมเพลสสำเร็จรูป เพื่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับนักออกแบบท้องถิ่น
8.2 ม้านั่งบิชุ
8.3 ไก่กินไก่
8.4 อาคารรับรอง สวนนกหนานฉาง กว่างโจว (ประเทศจีน)
8.5 Illumina
ทั้ง 23 ผลงานจะถูกจัดแสดงนิทรรศการผลงานที่ เฮือนแม่นายคำเที่ยง ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 3 – 11 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.30 น.
เรื่องมาใหม่
- (คลิป) ตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน ร่วมกู้ภัย และชาวบ้าน เร่งค้นหานักท่องเที่ยวเดินหลงป่าบ้านยะโป๋
- ผู้ว่าแม่ฮ่องสอนมั่นใจลดไฟป่าหมอกควันได้แน่นอนร้อยละ 50 ในปี 68 เตรียมมาตรการพร้อมบูรณาการทุกภาคส่วน
- แม่ฮ่องสอน อากาศหนาวเย็นจัด ส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยบนเทือกเขาสูง
- สืบ สภ.แม่สะเรียงแกะรอยรถพ่วงเฉี่ยวชนแล้วหนี จำนนด้วยหลักฐาน รุดมอบตัว แจ้ง 3 ข้อหาหนัก
- (คลิป) เชียงราย ชวนเที่ยวป่าส้มแสง สัมผัสธรรมชาติ วิถีชีวิต ป่าชุ่มน้ำอัตลักษณ์หนึ่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน