วันอาทิตย์, 12 มกราคม 2568

อธิบดีกรมสุขภาพจิต ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประชุมและอภิปรายพร้อมลงพื้นที่เยี่ยมการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย กิจกรรม 4 Pillar (ลำพูนโมเดล)

Social Share

อธิบดีกรมสุขภาพจิต ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประชุมและอภิปรายพร้อมลงพื้นที่เยี่ยมการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย กิจกรรม 4 Pillar (ลำพูนโมเดล)

30 มิ.ย.64 (ช่วงเช้า) แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต  ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำพูน และเจ้าคณะจังหวัดลำพูน ร่วมอภิปรายการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย โดยมี ประธานราชวิทยาลัยจิตแพทย์ฯ  นายกสมาคมจิตแพทย์ฯ พร้อมทั้งเครือข่ายสาธารณสุข, สายปกครอง, ผู้แทนคณะสงฆ์ (ประธานคิลานุปัฏฐาก), สื่อมวลชน และกลุ่มสมัชชาสุขภาพ ร่วมประชุม, นายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง และนางบุษบา อนุศักดิ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สสจ.ลำพูน ดำเนินรายการ  พร้อมกันนี้ (ช่วงบ่าย) ลงพื้นที่เยี่ยมติดตามการดำเนินงานสุขภาพจิตชุมชนและมอบทุนประกอบชีพ

ผู้เปราะบาง ต.ท่ากาศเหนือ อ.แม่ทา จ.ลำพูน อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าปัญหาการฆ่าตัวตายนั้นมีปัจจัยที่ถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาการระบาดของโควิด 19 กลุ่มแรงงาน ตกงาน ไม่มีรายได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ สร้างความอ่อนล้าทางจิตใจ ความโกรธ ก้าวร้าว เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ซึ่ง 4 Pillar (ลำพูนโมเดล) จะเป็นโครงการที่ช่วยเหลือด้านนี้

นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่าปัญหาการป้องกันการฆ่าตัวตายของจังหวัดลำพูนได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายคณะสงฆ์ หน่วยงานสาธารณสุข ศึกษาธิการ สื่อมวลชน ซึ่งปัญหาเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องเดียวความร่วมมือช่วยเหลือทางจิตใจสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามก็ได้สนับสนุนงบประมาณของจังหวัดร่วมด้วย

นายสุผล ตติยนันทพร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำพูน ได้กล่าวขยายผลโครงการผ่านหน่วยงานสายปกครอง พชอ., พชต., กรรมการหมู่บ้าน ดูแลกลุ่มเปราะบาง (กลุ่มเสี่ยง) รวมตัวช่วยเหลือกันและแก้ปัญหาการรักษาส่งต่อความเจ็บป่วย รวมถึงแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หนี้สิน

พระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน (ผ่านคิลานุปัฏฐาก) กล่าวถึงกลุ่มสื่อมวลชน เพจฮาลำพูน กลุ่มจิตอาสา ได้เข้ามาร่วมกันทำงาน ประสานจังหวัดให้มีหน่วยงานให้คำปรึกษาทางจิตใจ สนับสนุนให้กิจกรรม 4 Pillars ทำได้ในทุกพื้นที่

ด้านผู้เข้าประชุม เจ้าของเพจฮาลำพูน ได้นำเสนอเครื่องมือที่ช่วยลดและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายได้โดยมีการใช้ระบบดักจับผู้ที่คิดทำร้ายตนเองด้วย Online Applications เป็นเครื่อง Alert และติดตามช่วยเหลือ ซึ่งจะประเมินผลในระบบ AI จัดความเร่งด่วนความต้องการช่วยเหลือตามระดับต่างๆ แยกแยะ และเตือนไปยังกลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือ

โดยระบบจะรายงานสถานการณ์แก่ผู้บริหาร เพื่อการตัดสินใจกำหนดนโยบาย ระบบนี้สามารถขยายผลใช้ได้ทั่วประเทศและช่วงบ่าย อธิบดีกรมสุขภาพจิตและคณะ ได้ลงพื้นที่เทศบาลตำบลท่ากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เยี่ยมติดตามการดำเนินงานสุขภาพจิตชุมชน พร้อมมอบทุนประกอบชีพผู้เปราะบาง

ทั้งนี้ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายและการลดอัตราการฆ่าตัวตายจะสำเร็จได้นั้น เกิดจากแรงขับเคลื่อน จากทุกภาคส่วน ร่วมกันช่วยเหลือ ค้นหา ผู้ที่มีความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย การใช้เครื่องมือ Mental Health Check-In การใช้วัคซีนใจในชุมชนเข้าใจและให้โอกาส ใช้สายสัมพันธ์ รวมถึงสอดส่อง มองหา ใส่ใจรับฟัง และส่งต่อเชื่อมโยง จะช่วยส่งเสริมป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายได้อย่างยั่งยืน

กลุ่มงานสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลสวนปรุง  โทร. 0 5390 8500 ต่อ 60123