เครือข่ายชาวปะโอเพื่อการพัฒนาและสืบสานวัฒนธรรม จัดงานประเพณีปอยส่างลองปลอดเหล้า

เครือข่ายชาวปะโอเพื่อการพัฒนาและสืบสานวัฒนธรรม จัดงานประเพณีปอยส่างลองปลอดเหล้า สืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของบรรพบุรุษ

14 เม.ย. 68 นายสุวิช ใจพล กำนันตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน ครือข่ายชาวปะโอเพื่อการพัฒนาและสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีปอยส่างลองปลอดเหล้า ณ วัดป่าลาน ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

การจัดงานดังกล่าว นางพิม ลุงซอ , นายพัน ลุงทอน บ้านสันมะค่า เป็นเจ้าภาพใหญ่ และ นางสาวอรพิน ภัทรกุล คณะกรรมการผู้จัดงาน โดยมีพี่น้องชาวปะโอ ผู้มีความศรัทธาเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนา ส่งบุตรหลานเข้าร่วมเป็นส่างลองจำนวนทั้งสิ้น 9 องค์ มีพี่น้องชาติพันธุ์ปะโอกว่าพันคนร่วมงานอย่างคึกคัก

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการธำรงรักษาและสืบสานพระพุทธศาสนา ให้มีความมั่นคงยั่งยืน สถาพรสืบไป อีกทั้งผลที่เกิดจากการจัดงานปอยส่างลองนี้ ทำให้บุตรหลานที่เข้าร่วมบวช สามเณรภาคฤดูร้อน ได้มีโอกาสในการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัม พระพุทธเจ้า ก่อให้เกิดพุทธทายาทรุ่นใหม่ และที่สำคัญทำให้เด็กเยาวชนห่างไกลจาก อบายมุข และสิ่งล่อลวงทั้งหลาย รวมถึงสิ่งเสพติด้วย และผลสำคัญอีกด้านหนึ่งของการ จัดงานนี้ ทำให้พี่น้องสมาชิกในชุมชนได้มีความเข้าใจในวิถีประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับ พระพุทธศาสนาของกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ปะโอมากยิ่งขึ้น

สำหรับงานประเพณีปอยส่างลอง หรือการบวชลูกแก้วนั้น เป็นประเพณีและความเชื่อของ พี่น้องชาติพันธุ์ปะโอและไทยใหญ่ ที่ความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อ ครอบครัวใดมีบุตรหลาน ช่วงอายุที่เข้าเกณฑ์ระหว่าง 9 – 12 ขวบ หรือใกล้เคียง จะนำบุตรหลานมาบวชเป็นสามเณรเข้าสู่บวรพระพุทธศาสนา แต่ก่อนจะบวชเป็นสามเณร นั้น จะมีพิธีกรรมอันสำคัญตามความเชื่อของพี่น้องชาติพันธุ์ปะโอ คือการให้บุตรหลานที่ จะบวชเป็นสามเณรได้ผ่านพิธีกรรม การเป็น ส่างลอง ก่อน คำว่าส่างลองนั้นมาจากคำว่า อลอง ที่มีความหมายว่า เทพบุตร หรือเจ้าชาย ดังนั้นบุตรหลานที่ร่วมเป็นส่างลอง จึงมี สาวแต่งองค์ส่างลอง ด้วยเครื่องแต่งกายที่สวยงาม ประดับประดาด้วยสร้อยแหวนเงินทอง อย่างเจ้าชายสมัยพุทธกาล

งานประเพณีปอยส่างลองของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ เพื่อสืบสานประเพณีที่มีความหมายอย่างลึกซึ้ง ให้ลูกหลานซึมซับในวิถี ของความพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ความหลากหลายในประเพณีความเชื่อของกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ ถือเป็นความสวยงามของความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม และมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการรักษารากเหง้าที่บรรพชนได้สร้าง 15 ขอชื่นชมที่พี่น้องร่วมกันรักษาสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ และถือเป็นกิจกรรมที่ สร้างสรรค์ ให้ลูกหลานบวชเรียนในพระพุทธศาสนา ทำให้เด็กเยาวชนได้ห่างไกลจาก อบายมุขและสิ่งเสพติทั้งปวง ได้เห็นพี่น้องมีความกระตือรือร้นร่วมกันจัดงาน เพื่อนำสู่การ ทำนุบำรุงพระศาสนา โดยส่งบุตรหลานร่วมบวชเป็นสามเณรภาคฤดูร้อน และที่สำคัญ กิจกรรมนี้ก่อเกิดความสามัคคีกันของสมาชิกภายในชุมชน

Cr. ฉลอง หมั่นสกุล จ.แม่ฮ่องสอน