วันจันทร์, 23 ธันวาคม 2567

BCG Naga belt road ผลงานวิจัย มทร.ล้านนา ลำปาง นวัตกรรมข้าวเหนียวไทย สู่รางวัลวิจัยระดับโลก

Social Share

BCG Naga belt road ผลงานวิจัย มทร.ล้านนา ลำปาง นวัตกรรมข้าวเหนียวไทย สู่รางวัลวิจัยระดับโลก

อาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง นำ 4 ผลงานวิจัย BCG Naga belt road from Local to Global ผลิตภัณฑ์ชุมชน จากกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชน สร้างนวัตกรรมข้าวเหนียวไทยสู่เวทีโลก ในเวทีการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมในเวทีนานาชาติ EUROINVENT (European Exhibition of Creativity and Innovation) ระหว่างวันที่ 11-13 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองยาช (Iasi) ประเทศโรมาเนีย (Romania) พร้อมคว้า 14 รางวัล GOLD MEDAL Award

สำหรับรางวัลและผลงานที่ทีมวิจัยส่งเข้าประกวด ประกอบด้วย รางวัล Goal Medal ผลงาน Green rice powder , รางวัล Gold MEDAL ผลงาน Black Rice Pearls Power for Molecular Gastronomy Recipes,รางวัล GOAL MEDAL ผลงาน Lanna Nature Straw และรางวัล SILVER MEDAL ผลงาน Healthy and Eco -friendly Cricket Burger (เดิม Burgerข้าวเหนียวจิ้งหรีด) นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้รับรางวัล Surprise .Special GOLD MEDAL Award..จากหลายประเทศ ให้กับ 4 ผลงาน รวม 14 GOLD MEDAL Award

งานวิจัยยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่ บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ( BCG Naga belt road ) เป็นงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดำเนินการ 3 แผนงาน 14 โครงการ โดย ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง เป็นหัวหน้าแผนงานที่ 2 การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตข้าวเหนียวบนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงด้วยเกษตรสมัยใหม่และการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ดูแลโครงการในแผนงานจำนวน 7 โครงการ ประกอบด้วย

การพัฒนาทักษะเกษตรกรไทยให้เป็นเกษตรกรสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม , การเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันขอผู้ประกอบการด้านการแปรรูปจากข้าวเหนียว , การพัฒนา Circular Economy และ Green Economy ในชุมชนด้วยการใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าจากชีวมวลที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิตข้าว, Reskill-upskill ทรัพยากรมนุษย์ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าวเหนียวสู่การเรียนรู้ตลอดชีพ, การเพิ่มสมรรถนะผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าวเหนียวด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม, การส่งเสริมกระบวนการสร้าง carbon credit และการสร้าง ecosystem ในการพัฒนาชุมชน carbon ต่ำ, การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการพัฒนาตลาดวัฒนธรรมข้าวเหนียวสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในภาคเหนือ พื้นที่ จ.เชียงราย และ จ.ลำปาง ซึ่งการนำผลงานเข้าร่วมประกวดครั้งนี้ นับเป็นการสร้างนวัตกรรมข้าวเหนียวไทยสู่เวทีโลก