วันอังคาร, 24 ธันวาคม 2567

แม่ฮ่องสอนโมเดล จากฐานการเรียนรู้ สู่การยกระดับต้นแบบการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเมืองชายแดน

Social Share

Mae Hong Son Model จากฐานการเรียนรู้ สู่การยกระดับต้นแบบการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเมืองชายแดน ยกระดับขีดความสามารถเมืองชายแดนภาคเหนือ

16 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการแม่ฮ่องสอนโมเดล ( Mae Hong Son Model) สู่การยกระดับต้นแบบการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเมืองชายแดน โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน นักวิจัยในกรอบการวิจัย ภาครัฐ ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ณ สวนหมอกคำ รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสองสอน

นายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า เนื่องจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์โดดเด่นจากวัฒนธรรมที่ หลากหลายของชนเผ่าและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขา สลับซับช้อน ทำให้การเข้าถึงและการพัฒนาพื้นที่นี้ที่มีข้อจำกัดเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ ด้วยการมองเห็น ศักยภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืน “Mae Hong Son Mode!” ได้รับการออกแบบบเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาที่เหมาะสม กับบริบทเฉพาะของพื้นที่ โดยเน้นการยกระดับองค์ความรู้ในพื้นที่ การสร้างต้นแบบการพัฒนาที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่และสร้างความมันคงระดับประเทศแนวทางการพัฒนาเมืองชายแดนในมิติที่หลากหลายพื้นที่ชายแดนของไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือ มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาร่วมกันแทนที่จะแข่งขันกันเพียงลำพัง

แนวทางการพัฒนาจึงต้องเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือและยกระดับขีดความสามารถใน การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ได้แก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาโครงข่ายถนนถือเป็นสิ่งสำคัญในการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้า โดยเส้นทางเหล่านี้เชื่อมโยงกลุ่มจังหวัดภาคเหนือและอาเซียน นอกจากนี้ยังสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ การยกระดับแพลตฟอร์มเพื่อการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ การพัฒนาผู้ผลิตรายย่อยในพื้นที่ผ่านการจัดอบรมด้านการตลาดและเทคโนโลยีโดยเฉพาะการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า รวมถึงการสร้างเครือข่ายพื้นที่ที่เข้มแข็งการพัฒนาคลัสเตอร์ การสร้างเครือข่ายทั้งในรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการเพื่อขยายตลาดและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทำให้การค้าขยายตัวได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ดังนั้น การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อบูรณาการองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างกลไกความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกพื้นที่ เพื่อร่วมกันวางแผนและกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ชายแดนแม่ฮ่องสอน จากฐานการเรียนรู้สู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ตลอดจนนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ไห้กับ พื้นที่อย่างต่อเนื่องและยังยืน จากการรวบรวมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาศวิชและประชาชนในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า ยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่ และสร้างประชาคมที่แข็งแกร่งผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมที่แท้จริงด้วยเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน Mae Hong Son Model จึงเป็นต้นแบบที่นำศักยภาพของท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เสริมสร้างความมั่นคงให้กับพื้นที่แลส่งเสริมความเชื่อมโยงในระดับ ภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม

นายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวต่อไปว่า เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับศักยภาพของพื้นที่ในด้านต่าง ๆ อาทิการเกษตร การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสร้างความเข้าใจในความต้องการและโอกาสในการพัฒนา ส่งเสริมฐานการเรียนรู้ของพื้นที่ นำเสนอแนวทางการพัฒนาที่อาศัยฐานการเรียนรู้ในพื้นพื้นที่ อาทิ การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้ทรัพยากรธรรรมชาติอย่างยั่งยืน และการสร้างความร่วมมือระหว่างคนในพื้นที่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างความร่วมมือ จัดเวทีเสวนาและกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ตัวแทน จากภาคส่วนต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนมุมองและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ชายแดน ศึกษาดูงานการออกแบบต้นแบบการพัฒนายกระดับห่วงโซ่คุณค่าในพื้นที่ชายแดนที่เหมาะสมและ สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในพื้นที่ชายแดนอื่น ๆ ได้ เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน ร่วมกันวางแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยกำหนดเป้าหมาย

ตัวชี้วัด และระยะเวลาการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามลอย่างต่อเนื่อง สร้างเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและบอกพื้นที่ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน “การยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่เมืองชายแดน”ภายใต้แผนงานย่อยรายประเด็น “การพัฒนาเศรษฐกิจและกระจายความเจริญใน พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ” ประจำปีงบประมาณ 2567

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ภาคีการพัฒนาในพื้นที่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมมีความเข้าใจเกี่ยวกับกลไก การยกระดับขีดความสามารถเมืองชายแดนภาคเหนือ แผนงานโครงการที่มีความเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง เพื่อให้การขับเคลื่อน แผนพัฒนาเมืองชายแดน ตรงกับความต้องการของประชาชน และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่

Cr. ฉลอง หมั่นสกุล