วันจันทร์, 25 พฤศจิกายน 2567

เชียงใหม่ เลขาธิการ สทนช. ติดตามแผนแม่บทน้ำ-อุโมงค์ผันน้ำ ก่อสร้างคืบหน้าร้อยละ 70 รองรับสถานการณ์เอลนิโญ

Social Share

เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่-ลำพูน ติดตามผลศึกษาแผนบรรเทาน้ำท่วม/ภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) ก่อนเดินหน้าแผนหลักกว่า 7 พันโครงการ ตามแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี พร้อมผลักดันการพัฒนาแหล่งน้ำในขุมเหมืองร้าง ให้เป็นแหล่งน้ำต้นทุน อีกหนึ่งทางรอดของเกษตรกร จากภาวะ ฝนทิ้งช่วง ขณะที่อำเภอแม่แตง จ.เชียงใหม่เดินทางมาติดตามโครงการประตูระบายน้ำแม่แตง และความคืบหน้าการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแม่แตง เพื่อผันน้ำเข้า 2 เขื่อนหลักตอนนี้การขุดอุโมงค์แล้วเสร็จไปกว่าร้อยละ 70

วันที่ 18 ก.ค. 66 นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ ติดตามความคืบหน้าโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการ เพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) เชียงใหม่-ลำพูน ว่าจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ ที่ประสบปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ จึงได้มีการศึกษาจัดทำแผนหลักบรรเทา อุทกภัยและภัยแล้ง ตามแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี

โดยได้ดำเนินการศึกษาพื้นที่ Area Based จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ครอบคลุมพื้นที่ 138 ตำบล 19 อำเภอ และพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ Area Based จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน หากการด้าเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดจะสามารถเพิ่ม ประสิทธิการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ประชาชนมีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 951 ล้าน ลบ.ม. แก้ปัญหา ภัยแล้งครอบคลุมพื้นที่ 3,840,101 ไร่ นอกจากนี้ ยังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ จัดการพื้นที่น้ำท่วม บรรเทาปัญหาอุทกภัยได้ 1,721,775 ไร่ ควบคู่กับการก่อสร้างระบบบ้าบัดน้ำเสีย อนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำลำคลอง ฟื้นฟูป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม ลดการชะล้างพังทลายของดิน จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ แผนป้องกันและแก้ไข ภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม พัฒนาระบบตรวจวัดระบบฐานข้อมูล แต่งตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ และมีการติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

จากการลงพื้นที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ติดตาม “โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่ตะมาน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และทางเข้า-ออก หมายเลข 2 ของอุโมงค์ส่งน้ำแม่แตง-แม่งัด” เนื่องจากเขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีความจุ 263 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่ชลประทาน 175,000 ไร่ แต่จากสถิติที่ผ่านมามีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ เฉลี่ยเพียงปีละ 202 ล้าน ลบ.ม. ประกอบกับพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความต้องการใช้น้ำสูงกว่าปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ทำให้ปัจจุบันเกิดการขาดแคลนน้ำเฉลี่ยปีละประมาณ 137 ล้าน ลบ.ม. และจากการขยายตัวของภาค เกษตรกรรม การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมและชุมชน และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า คาดว่าจะขาดแคลนน้ำเพิ่มขึ้นเป็นปีละประมาณ 173 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการ ยกระดับน้ำเพื่อผันน้ำผ่านเข้าไปยังอุโมงค์แม่งัด-แม่กวง ซึ่งประกอบด้วยประตูระบายน้ำ จำนวน 4 ช่อง ความกว้างช่องละ 10 เมตร ปิดกั้นลำน้ำแม่แตง บริเวณด้านเหนือน้ำของบ้านแม่ตะมาน ในเขตตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างมีความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 96.37 หากดำเนินการแล้วเสร็จจะ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธาราเฉลี่ยปีละ ประมาณ 160 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่เพาะปลูกช่วงฤดูแล้งของพื้นที่ชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จาก 17,060 ไร่ เป็น 76,129 ไร่ และช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตเทศบาลเมือง นครเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 70

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ความก้าวหน้าของแม่งัด แม่แตง แม่กวง สำหรับโครงการนี้ ปัจจุบัน ภาพรวม 77 เปอร์เซ็นต์ ผลงานมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก แต่ยังติดขัดการขอใช้พื้นอุทยานแห่งชาติศรีลานนา อยู่ระหว่างดำเนินงาน ซึ่งต้องรอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เข้ามาดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว กำหนดให้เสร็จ 70 กรมชลประทาน เร่งรัดดำเนนิการให้แล้วเสร็จก่อนแผน ถือว่าเป็นการผันน้ำจากลุ่มน้ำหนึ่งไปอีกลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นการผันน้ำส่วนเกินของลุ่มน้ำแม่แตง 113 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ไปเก็บไว้ที่โครงการชลแม่งัด สำหรับเขื่อนแม่งัดสมบูรรณ์ชลมีน้ำ ส่วนเกิน 47 ล้านลูกบาศก์เมตร และผันไปยังเขื่อนแม่กวง 160 ล้านลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่แม่กวง มีปริมาณต้องการน้ำมากกว่าปริมาณกักเก็บ เป็นความก้าวหน้าในการรองรับ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และยังรองรับในอนาคต ทั้งเอลนีโย่ ก็ถือว่าโครงการนี้เป็นการดำเนินการ เอาน้ำส่วนเกินไปเติม ในจุดที่แล้งน้ำ สามารถรองรับน้ำระยะยาว ลดปัญหาอุทกภัย

ส่วนสถานการณ์น้ำในขณะนี้ ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ในต้นฤดูฝน ยังมีฝนที่เข้ามา ยังมีร่องความกดอากาศต่ำ มีฝนเพิ่ม ร่องมรสุม และพายุตาลิม ทำให้มีปริมาณฝนเพิ่ม เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนวชิราลงกร ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำ รณรรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด มีการวางแผน คณะกรรมการใช้น้ำ รองรับสถานการณ์เอลนิโญ