วันเสาร์, 23 พฤศจิกายน 2567

ม.แม่โจ้ ขับเคลื่อน 9 มิติ “ระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” ในงานมหกรรมยางพารา EEC 2023

Social Share

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขับเคลื่อน 9 มิติ“ระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม”ในงานมหกรรมยางพารา ฯ EEC 2023 ที่ จ.ระยอง เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้สู่ชุมชน พร้อมชูท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในพื้นที่ EEC

ผศ.ดร.สถาพร แสงสุโพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ม.แม่โจ้ เปิดเผย ถึง การนำแนวทาง“ระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาขับเคลื่อนภายหลังที่ ม.แม่โจ้ ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพ งานมหกรรมยางพาราและพืชเศรษฐกิจ EEC 2023 จ.ระยองร่วมกับ สมาคมวิชาการและถุงมือยาง และสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย โดยมี ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ ได้ร่วมยื่นหนังสือ “ระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” แก่ ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในโอกาสที่เป็นประธานเปิดงาน

เพื่อผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติว่าจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทั้ง ในด้านสุขภาพที่ผู้คนต้องเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือที่เรียกว่า NCDs ซึ่งย่อมาจาก Non-Communicable diseases ที่มีปริมาณเพิ่มมากขั้น เช่น เบาหวาน, ไขมัน, ความดัน และมะเร็ง อันเกิดจากฐานการผลิตระบบการเกษตรที่ใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็นส่งผลให้อาหารมีการปนเปื้อนกับสารเคมีทำให้อาหารไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและส่งผลร้ายต่อสุขภาพตามมา จากประเด็นปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นทำให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้สร้างองค์ความรู้เพื่อมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยใช้องค์ความรู้ที่ทำวิจัยคือเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมโดย มี หลักการ 9 มิติ คือ

  1. การเกษตรไร้สารเคมี
  2. ผลิตอาหารเพื่อ สุขภาพ
  3. สปาสุขภาพเพื่อฟื้นฟูร่างกาย
  4. ระบบเศรษฐกิจ ชุมชน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
  5. สร้างสังคมแห่งความสุข
  6. สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ประเพณี วัฒนธรรม
  7. เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม/ BCG
  8. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  9. ศูนย์วิจัยพัฒนา และศูนย์เรียนรู้ ด้านเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม มาเพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบ ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านสุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม

“ตอนนี้เราก็มีการขยายไปยังหลายพื้นที่ ตอนนี้พื้นที่ที่เรากำลังจะขยายไป ก็พื้นที่หนึ่ง ก็อยู่ในพื้นที่ของภาคตะวันออกเขียงเหนือที่ จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย จังหวัดสกลนคร อันนี้ก็เป็นพื้นที่หนึ่งที่เราจะต้องขยายออกไป ในส่วนที่สองล้านนาตะวันออก จังหวัดแพร่ น่าน พะเยา ส่วนภาคตะวันออกตอนนี้ที่เราขยายไปก็จะมีจังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี ส่วนในเชียงใหม่นี้มีหลายจุด อีกจุดหนึ่งที่เรากำลังพัฒนาอยู่ที่ ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และรวมทั้งมีอีกหลายที่ที่เสนอเข้ามา ซึ่งเราก็จะทำการฝึกอบรมแล้วก็ขยายผลต่างๆ นี้ไปยังชุมชน สังคมต่างๆ

อีกประเด็นหนึ่งที่เราจะทำการเผยแพร่ก็คือแห่งชาติศรีลานนา อุทยาน อันนี้ก็จะเป็นหมู่บ้านห้วยราชบุตร ที่เรากำลังจะนำองค์ความรู้นี้ไปเผยแพร่ เพราะว่าเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีสุ่มเสี่ยงเรื่องหมอกควันไฟป่า รวมทั้งโครงการต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ที่เราจะทำให้เกิดการพัฒนาในเรื่องของการเกษตรที่ไร้สารเคมี การนำเอาวัตถุดิบที่เราเผา เอามาแก้ปัญหาในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และเราก็กำลังจะขยายไปในกลุ่มของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศลาวตอนนี้ เราก็จะมีสองที่ขยายออกไป คือที่หลวงพระบางกับที่เวียงจันทน์ ระบบเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นระบบที่สามารถที่จะเกื้อกูลกันในเรื่องของมิติในหลายๆ เรื่อง ซึ่งตอนนี้เองเราก็ได้นำเอาในส่วนของอีกสองประเด็นหลักๆ ที่เข้ามาร่วมในเรื่องของ BCG ซึ่ง BCG นี้พูดถึงระบบเศรษฐกิจสีเขียว ระบบหมุนเวียนต่างๆ ก็จะสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่เราได้เอาสิ่งที่เหลือใช้ ข้ามาหมุนเวียนมาใช้ในระบบสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมของเรา

รวมทั้งก็จะก้าวข้ามไปสู่ในเรื่องของ SDG Model พูดถึงความมั่นคงของชีวิต ในเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม ตัว BCG Model เอง และ SDGs. Model เอง ก็จะเป็นมิติสามส่วนที่ร่วมผนึกกำลังกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างแบบองค์รวม เพราะว่าเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้ไม่สามารถที่อยู่ได้ด้วยตัวของโดยระบบเองได้ก็คงจะต้องใช้ตัวระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศที่ประเทศได้กำหนดเอาไว้แล้วเอามาช่วยในการขับเคลื่อน ซึ่งตัว BCG เอง ปัจจุบันนี้รัฐบาลก็กำลังขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวมไปถึง SDG.Model ซึ่งเป็นเป้าหมายของสหประชาชาติ อันนี้สุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมของเราก็มีบทบาทที่สำคัญที่จะช่วยให้ในส่วนของ BCG และ SDGs สามารถที่จะประสบความสำเร็จได้“

ทางด้าน ผศ.ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีสกุล คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ม.แม่โจ้ ได้เปิดเผยนโยบายถึงการนำแนว ระบบเกษตรสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยแม่โจ้เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดระบบดังกล่าวและมีนโยบาย พัฒนาโครงสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พร้อมขับเคลื่อนไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ สู่ชุมชน

“มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้นำระบบ “เกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม” มาใช้ในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างความมั่นคง ทางด้าน อาหาร โดยอาหารที่ผลิตขึ้นต้องเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ และต้องมีปริมาณเพียงต่อความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งการผลิตต้องไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งการเผาป่าจนก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และเกิดหมอกควันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งแปรผันโดยตรงส่งผลทำให้อาหารมีราคาแพงเพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ ส่งผลพวงให้เกิดปัญหาด้าน อื่นๆ เช่น ภาวะโรคติดต่อ และเกิดปัญหาการว่างงานการว่างงานตามมา

“นโยบายเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม ก็เป็นเรื่องที่สำคัญของมิติของการพัฒนา เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเลย เนื่องจากว่าผลกระทบสู่ภายนอก การผลิต การบริโภค และการจำหน่ายจ่ายแจก หรือกิจกรรมของมนุษย์ทั้งหมด ล้วนแต่ที่ใช้ทรัพยากร เพราะฉะนั้นการใช้ทรัพยากรมันมีผลกระทบในเรื่องดุลยภาพในหลายๆ เรื่อง หรือมีผลกระทบด้านอื่นในหลายๆ เรื่อง เพราะฉะนั้นในการพัฒนา มติในการพัฒนายั่งยืนจึงให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ เรื่องของทุนธรรมชาติ ที่นี้ในวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เราสอนเกี่ยวกับเรื่องการบริหารสาธารณะ การบริหารสาธารณะคือการทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ เราก็มีหลายภาพส่วนที่ไปเกี่ยวข้องกับการทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ โดยเฉพาะภาครัฐ รัฐถือว่าเป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในการทำประโยชน์สาธารณะ ส่วนที่สองเดี๋ยวนี้เอกชนเองเค้าก็หักมาทำกิจกรรมประโยชน์เพื่อสาธารณะ โดยเฉพาะเรื่องกิจกรรม CSR. หรือ ธุรกิจเพื่อสังคมอันนี้ก็เกี่ยวข้องกับคนหมู่มากสาธารณะ และอีกภาคหนึ่งที่สำคัญคือภาคประชาสังคม ภาคชาวบ้านเองก็มีส่วนร่วมที่จะทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ

เพราะฉะนั้นในมิติของการสอนบริหารสาธารณะ มีสอนอยู่ 2 เรื่องก็คือเรื่องของการพัฒนาระบบบริหารองค์กรสาธารณะให้มีความแข็งแรง แล้วองค์กรสาธารณะเหล่านี้ก็ไปทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ ในมิติของการบริหารการพัฒนา เพราะฉะนั้นนโยบายในการบริหารการพัฒนาโลก เค้ามองอยู่ 2 กระแสหลักก็คือ หนึ่งกระแสก็คือพูดถึงความก้าวหน้า ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหล่านี้ ก็คือต้องใช้ทรัพยากร โดยใช้ทรัพยากรของโลก เพราะฉะนั้นการใช้ทรัพยากรของโลกเยอะมากขึ้น หรือมนุษย์อยู่ในโลกของทุนนิยม อยู่ในโลกของการบริโภคมากขึ้น ผลกระทบก็มีมากมายตั้งแต่ระดับสังคม ระดับชุมชน ระดับบุคคลเลย โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพระดับบุคคล เรื่องของสุขภาพเรียกว่าโรคติดต่อ ไม่ติดต่อร้ายแรงที่เรารู้จัก ความดัน เบาหวาน พวกโรคมะเร็งอะไรต่างๆ เหล่านี้ ก็ถือว่าเป็นภัยทางสาธารณะอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งเรื่องของสิ่งแวดล้อมก็เหมือนกัน ทีนี้เพื่อจะปรับระบบการผลิตให้จะตอบสนองความต้องการของทุนนิยม ที่ต้องใช้ทรัพยากรสนองคนหมู่มาก ก็ต้องเร่งการผลิต ก็ใช้สารเคมี เพราะฉะนั้นเกษตรก็เป็นเกษตรสารเคมี

ผลกระทบที่ผมพูดทั้งหมดก็เป็นผลกระทบสู่ภายนอกที่เป็นเป็นลบ ดังนั้นวิทยาลัยบริหารศาสตร์เองสอนเกี่ยวกับเรื่องนโยบายสาธารณะ สอนเกี่ยวกับเรื่องการบริหารการพัฒนา เพราะฉะนั้นผมจึงมีนโยบายที่สำคัญก็คือว่าจะทำอย่างไรเราจะบูรณาการภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะภาครัฐ เอกชน ประชาคม ชาวบ้าน ชุมชนให้มามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนตัวนโยบายสาธารณะ ในเรื่องของเกษตร อาหารและสุขภาพ ก็มีนโยบายให้ทางฝั่งของวิจัยและบริการวิชาการไปทำต้นแบบหรือที่เรียกว่า Social Lab แล้วก็เป็นแหล่งฝึกให้แก่นักศึกษาของเราในระดับปริญญาโท ปริญญาเอกให้เรียนรู้ถึงนโยบายเหล่านี้ เพราะฉะนั้นเนี่ยก็ส่วนหนึ่งก็เป็นการตอบสนองนโยบายการพัฒนาระดับโลก ระดับประเทศ และระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้เองก็เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นเรื่องของการเกษตร เรื่องของอาหารและสุขภาพ ซึ่งก็มองในเรื่องของเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก นโยบายเกษตร อาหารและสุขภาพที่เรามีต้นแบบในรูปธรรมในการทำระดับชุมชน ผมคิดว่ามันสามารถที่จะไปบรรเทาปัญหาหมอกควันของประเทศได้ โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีวัตถุดิบ โดยเฉพาะเรื่องใบไม้ เศษไม้อะไรต่างๆ เพราะว่าศูนย์ของเรานี้มีเรื่องเกษตร เกษตรคือเราใช้วัตถุดิบที่เป็นท้องถิ่น ใบไม้ เศษไม้ต่างๆ มาทำเป็นปุ๋ย และมีนวัตกรรมที่นักวิชาการเราลงไปทำ ผมคิดว่าถ้าสามารถขยายวงกว้างในระดับพื้นที่ครอบคลุมหลาย ๆ ที่เพราะฉะนั้นเศษไม้ ใบไม้อะไรต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการเผานี้นะครับ ผมคิดว่าน่าจะทำมาเป็นระบบเรื่องของ Input หรือปัจจัย ทางเข้าคือปุ๋ย แล้วก็คิดว่าตรงนั้นมันทำให้เกิด ถ้ามองในเชิงหลักการทางวิทยาศาสตร์ก็คือว่า เมื่อต้นเชื้อเพลิงมันลดลงนะครับ ผมคิดว่าเรื่องโอกาสในการเผาหรือการเกิดไฟผมคิดว่ามันน่าจะลดลงนะครับ แต่อย่างไรก็แล้วแต่นะครับถ้าจะเกิดผลสัมฤทธิ์หรือมีประสิทธิผลได้มันจะต้องทำครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายหรือพื้นที่ที่เป็นปัญหาและพื้นที่ที่มีความต้องการในลักษณะนี้ครับ”

สำหรับพื้นที่ จ.ระยอง เมืองท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งของประเทศไทย ในเขต EEC โดยทางม.แม่โจ้ได้มีเครือข่ายเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม 3 แห่ง คือ 1.สวนหอมมีสุข ต.กระเฉด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง 2.ชมรมจิตอาสาราชประชาสมาสัย อ.เมืองระยอง 3.หาดแสงจันทร์รีสอร์ท ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง จ.ระยอง ซึ่งจะได้มีแผนการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่มีความพร้อมที่ได้นำองค์ความรู้ด้านเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมไปใช้ในการพัฒนาพื้นที่สร้างต้นแบบแห่งการเรียนรู้และปฏิบัติจริงเกิดผลสัมฤทธิ์แล้ว รวมทั้งจะได้นำการวิจัยและพัฒนาตลอดจนองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยมีศูนย์การเรียนรู้พร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านเกษตรสุขภาพรักษ์สิ่งแวดล้อมขยายผลสู่พี่น้องประชาชนและผู้ที่สนใจ ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ก้าวสำคัญของแนวนโยบายมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่จะได้ขับเคลื่อนให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อนำแนวทางดังกล่าวไป ขยายผลสู่การพัฒนา ชุมชน, ท้องถิ่น และในระดับประเทศให้ครอบคลุมช่วยแก้ไขปัญหา เกิดความยั่งยืนในชีวิตต่อไป