วันจันทร์, 25 พฤศจิกายน 2567

CEOs magic patches ม.นเรศวร คว้า สุดยอดสตาร์ทอัพหน้าใหม่ที่ภาคเหนือ NIA ปั้น Startup Thailand League 2022

Social Share

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เฟ้นหาดาวเด่นจากมหาลัยทั่วประเทศปั้นสตาร์อัพหน้าใหม่ปีที่ 6 ในการแข่งขัน Pitching Startup Thailand League 2022 ระดับภูมิภาค   เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะเลิศในแต่ละภูมิภาค สู่การแข่งขันบนเวทีระดับประเทศ Startup Thailand League 2022 หวังผลักดันนิสิต/นักศึกษาจากทั่วประเทศสู่การเป็นสตาร์ทอัพมืออาชีพ เปิดเวทีประกวดแห่งแรกที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ โดยทีม CEOs magic patches จากมหาวิทยาลัยนเรศวร คว้ารางวัลชนะเลิศภาคเหนือไปครอง

นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรรมแห่งชาติ หรือ NIA เผยว่า ปีนี้เป็นปีที่ 6 ที่ NIA ได้จัดงาน Startup Thailand League เพื่อเป็นเวทีแห่งโอกาสให้นิสิต/นักศึกษาที่มีไอเดียนวัตกรรม มีความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาธุรกิจแบบใหม่เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและสังคม และผลักดันให้เกิดสตาร์ทอัพรุ่นใหม่มากขึ้น ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อช่วยขยายธุรกิจให้เติบโตตามเทรนด์ของโลก  นิสิต/นักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขัน Startup Thailand League 2022 ได้ผ่านการอบรมพัฒนาความเป็นสตาร์ทอัพและแนวทางการพัฒนาธุรกิจ เป็นเวลา 3 วัน ก่อนก้าวเข้าสู่การแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจระดับประเทศ หรือ Pitching Startup Thailand League 2022 โดยปีนี้มีมหาวิทยาลัยเครือข่ายเข้าร่วมกว่า 48 แห่งทั่วประเทศ ส่งทีมเข้าแข่งขันร่วมกว่า 250 ทีม

เริ่มเวทีแข่งขันแรกที่ภาคเหนือ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2565 ตามด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2565 ภาคใต้ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 11-12 มิถุนายน 2565 และปิดท้ายที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ณ Sandbox 88 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน 2565

จากการเฟ้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพหน้าใหม่ที่ภาคเหนือ มีนิสิต/นักศึกษาเข้าร่วม 49 ทีมจาก 8 มหาวิทยาลัย และหลังจากนำเสนอแผนงานธุรกิจสตาร์ทอัพ ได้คัดเลือก 3 ทีมโด่ดเด่นเป็นดาวรุ่งของภาคเหนือโดยรับโล่ประกาศเกียรติคุณจาก NIAและเงินรางวัลสนับสนุนโดยธนาคารออมสิน ได้แก่

  • ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ทีม CEOs magic patches จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • รองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม ConnectTheDr จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Powerpuffgirls จากมหาวิทยาลัยนเรศวร

โดยทั้ง 3 ทีมจะเป็นตัวแทนภาคเหนือเข้าแข่งขันในระดับประเทศ เพื่อชิงชัยเป็นสุดยอด Startup Thailand League ประจำปี 2022 นอกจากนั้น NIA จะได้คัดเลือก 100 ทีมจากทั่วประเทศเปิดโอกาสให้ได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์หรือบริการนำเสนอแก่นักลงทุนและผู้ที่สนใจภายในงาน Demo Day 2022 ที่จะเกิดขึ้นช่วงเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ โดยทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้เงินสนับสนุนแก่ทุกทีม เพื่อนำไปจัดทำต้นแบบของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Prototype)

 

นายปริวรรต กล่าวเสริมต่อว่า “นอกจากโล่และเงินรางวัลที่นิสิต/นักศึกษาจะได้รับแล้ว การได้เข้าแข่งขันทุกทีมจะได้รับ คำแนะนำในการพัฒนาโมเดลธุรกิจ แนวทางการขยายธุรกิจ การบริหารองค์กร จากคณะกรรมการตัดสินที่เป็นทั้งนักลงทุนผู้เชี่ยวชาญ และสตาร์ทอัพรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จในแวดวงสตาร์ทอัพ และในอนาคตยังมีโอกาสได้เข้าสู่โครงการบ่มเพาะธุรกิจทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ทุกทีมมีโอกาสเปิดตัวธุรกิจของตัวเองให้นักลงทุนและสาธารณชนได้รู้จัก และยังเป็นการสร้างประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากการเรียนในตำรา เราเชื่อมั่นว่าการผลักดันให้เกิดสตาร์ทอัพหน้าใหม่ จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศให้เติบโต และสร้างรายได้ให้กับประเทศต่อไป”

เตรียมส่งไม้ต่อสู่สตาร์ทอัพหน้าใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 4-5 มิถุนายน 2565 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี สำหรับนิสิต/นักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมการแข่งขัน Pitching Startup Thailand League 2022 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook: StartupThailand และ www.startupthailand.org

• ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ทีม CEOs magic patches จากมหาวิทยาลัยนเรศวร

แผ่นแปะแก้ปวดเมื่อยเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาและคิดค้นให้ใช้งานง่าย พกพาสะดวก และเข้าถึงได้ง่าย โดย
อ้างอิงการสำรวจผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดพบว่า แผ่นแปะทั่วไปที่มีจำหน่ายช่วยลดอาการปวดเมื่อยแต่ยังไม่สามารถ
ช่วยเพิ่มความผ่อนคลายตรงนี้ได้ ทำให้เล็งเห็นถึงช่องว่างทางการตลาดตรงนี้ จึงท าให้สนใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
แผ่นแปะลดอาการปวดเมื่อย และช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย ลดอาการตึงเครียดให้อยู่ในผลิตภัณฑ์เดียวกันโดยเป็น
การวิจัยและพัฒนาต่อยอดขึ้นมาใหม่จาก ทีมวิจัยโดยคิดค้นวิธีการสกัดสารที่มีส่วนประกอบของพริกที่มีสรรพคุณ
และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการช่วยลดอาการปวดเมื่อย และวิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยกัญชงที่มีฤทธิ์ในการช่วย
เพิ่มความ ผ่อนคลาย ลดอาการเครียดรวมถึงการพัฒนารูปแบบแผ่นแปะให้สามารถมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ภายใน
แผ่นแปะได้ โดยคิดค้นการตั้งต้น รับดังกล่าวขึ้นมาใหม่ภายใต้ทีมผู้เชี่ยวชาญโดยอาศัยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี

• รองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม ConnectTheDr จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Platform ระบบจัดการเวรแพทย์เอกชนในประเทศไทย เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลากรทาง
การแพทย์และสถานพยาบาลเอกชนทั้ง โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเวชกรรมท่ัวไป และคลินิกเวชกรรมเสริมความงามต่างๆ
แพลตฟอร์มนี้จัดเป็นคอมมิวนิตี้สําหรับบุคคลากรทางการแพทย์ซึ่งมีจุดประสงค์ในการดูแลในเรื่องของการจัดหา จัดจ้าง จัดซื้อ และขายงาน โดยที่จะรวบรวมงานด้านการแพทย์ของสถานพยาบาลเอกชนทั้งหมดมาไว้ในแหล่งเดียวเพื่อสร้างเป็นแหล่งข้อมูล งานทางด้านการแพทย์ อีกทั้งยังมีระบบจัดการตารางงาน การขึ้นเวรของแพทย์ พร้อมทั้งมีระบบแจ้งเตือนการทํางานทําหน้าที่ เสมือนมีเลขาส่วนตัวคอยดูแลการทํางานตลอดเวลา ในส่วนของการคัดผู้เข้าใช้บริการแพลตฟอร์ม นั้นมีข้อกําหนดคือ แพทย์ที่เข้าสมัครช้บริการระบบ จะต้องได้รับการยืนยันตัวตนว่ามีใบประกอบโรคศิลป์จริง ไม่ได้อยู่ในระหว่างการเพิกถอนใบประกอบฯ และ สถานพยาบาลเอกชนที่เข้าสมัครใช้บริการระบบจะต้องทําการยืนยันตวัตนว่าเป็นตัวแทนจากแต่ละสถานพยาบาลจริง

• รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Powerpuffgirls จากมหาวิทยาลัยนเรศวร

KHANIP- Whitening Toner Pad  แผ่นเช็ดขาหนีบเพื่อทำความสะอาดและขาวกระจ่างใสอย่างเป็นธรรมชาติ

1. ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำมาใช้

  • ข้าวเหนียวดำ มีสารที่เรียกว่าโอรีซานอล ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม Dtyrosinase ทำให้ผิวบริเณขาหนีบ ขาวกระจ่างใสอย่างเป็นธรรมชาติ เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว ช่วยลดอาการระคายเคืองผิว และยังเป็นสาร antioxidant อีกด้วย
  • สารสกัดมะขามปhอม สารสกัดจากมะขามป้อมมี AHA โดยธรรมชาติ ช่วยให้ความกระจ่างใสกับผิวและอุดมไปด้วยวิตามินซี และเป็นสาร antioxidant
  • นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีMicroencapsulation นี้ไปใชhกับสารที่ใช้สารสำคัญที่อยู่ภายใน จะซึมเข้าสู่ผิวหนังอย่างรวดเร็ว และล้ำลึก ลดความระคายเคืองของสารออกฤทธิ์ สารสำคัญสามารถออกฤทธิ์ได้นาน และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น