จังหวัดแม่ฮ่องสอน บูรณาการผลักดันเกษตกรปลูก “กัญชง” เป็นพืชเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของแม่ฮ่องสอน เผย“กัญชง 1 ไร่ สร้างรายได้เทียบข้าวโพด 40 ไร่” วางแผนปลูกในพื้นที่ คทช. กว่า 5 แสนไร่ หวัง “สร้างป่า สร้างรายได้ ลดการบุกรุกป่า
วันที่ 27 กันยายน 2564 ที่ศูนย์วิจัยกัญชง หมู่ที่ 4 ต.ผาบ่อง อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน นายชนก มากพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชง พันธุ์ไทยพื้นเมือง 83 สายพันธุ์” โดยมี นพ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา ประธานบริษัท ไทยเฮมพ์ เวลเนส จำกัด ดร.เสถียรพงษ์ แก้วสด ประธานกรรมการบริหาร บริษัทฯ ดร.เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์ พล.อ.สุทัศน์ จารุมณี ประธานที่ปรึกษามูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์ รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ นายกรัณย์พล แสงทอง ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 สาขาแม่ฮ่องสอน บจ.เซ็ปเป้ และ บจ.วี อีโค ร่วมให้การต้อนรับและเปิดโครงการ พร้อมกันนี้ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร ปลูกต้นกัญชงต้นแรกทั้ง 83 สายพันธุ์ในแปลงวิจัย
หลังเสร็จสิ้นพิธีการ นายชนก มากพันธุ์ รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ว่า การปลูกกัญชงจะเป็นการยกระดับรายได้ของพี่น้องชาวแม่ฮ่องสอนให้ดีขึ้น ใน 1 ไร่ จะได้ผลตอบแทนจากการปลูกกัญชงสูงกว่าการปลูกข้าวโพดซึ่งต้องปลูกมากถึง 40 ไร่ นับว่าโครงการนี้เป็นก้าวแรกที่จะทำให้มีการส่งเสริมให้มีการปลูกกัญชงเพื่อลดการบุกรุกทำลายป่าในพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนลง ในการปลูก 1 ไร่ เท่ากับการปลูกข้าวโพด 40 ไร่ ซึ่งหมายความว่าการใช้พื้นที่สำหรับปลูกกัญชงก็จะน้อยลง การบุกรุกทำลายป่าก็จะน้อยลง ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกที่จะทำให้เห็นการสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ คือ ทำน้อยแต่ได้ผลตอบแทนมาก
“จังหวัดแม่ฮ่องสอนเห็นความสำคัญของโครงการนี้จึงสนับสนุนส่งเสริมให้การการปลูกในพื้นที่ที่มีโครงการปลูกป่าเพื่อสร้างรายได้ โดยวางเป้าหมายที่จะดำเนินการในพื้นที่ คทช. ซึ่งสามารถดำเนินการได้ ซึ่งจังหวัดเชื่อว่า คทช. จะเป็นทางรอดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพราะในพื้นที่ คทช. สามารถดำเนินกิจกรรมที่ได้รับอนุญาตจากภาครัฐได้ โดยที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาล ซึ่งขณะนี้ได้มีการอนุญาตในพื้นที่ คทช. ไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะพื้นที่ภายใต้โครงการหลวงทั้งหมดได้มีการอนุญาตไปแล้ว” รอง ผวจ.แม่ฮ่องสอน กล่าว
ด้าน นายกรัณย์พล แสงทอง ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 สาขาแม่ฮ่องสอน กล่าวเพิ่มเติม ว่า กัญชงถือได้ว่าเป็นพืชพื้นถิ่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งภารกิจหนึ่งของกรมป่าไม้คือการฟื้นฟูป่าโดยความร่วมมือของพี่น้องประชาชนในการจะให้คนอยู่กับป่าตามแนวพระราชดำริ ในรูปแบบ สร้างป่าสร้างรายได้ ขณะนี้มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จะเริ่มในพื้นที่ คทช. ซึ่งกรมป่าไม้ได้เตรียมไว้ราว 580,000 ไร่ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม สร้างอาชีพ สร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริในการที่จะให้คนอยู่กับป่าอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากป่าเพื่อให้มีป่า มีน้ำ มีชีวิต “ในพื้นที่จัดที่ดินทำกินให้ประชาชน หรือ คทช. เบื้องต้นจากข้อมูลทางวิชาการที่มีคือ กัญชง 1 ไร่ จะสามารถให้รายได้ผลผลิตทดแทนการปลูกข้าวโพดในวันที่ข้าวโพดราคาตกต่ำจะทดแทนได้ 100 ไร่ หากวันที่ข้าวโพดมีราคาสูงจะทดแทนการปลูกข้าวโพดได้ 40 ไร่ โครงการ กัญชงแลกป่า จะถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยจะนำไปทดแทนปัญหาจากการทำไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างการต้องการพื้นที่ป่ากับการต้องการพื้นที่ทำกินที่ต้องการที่ดินเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น โดยในพื้นที่ข้างบนลุ่มน้ำ 1-2 จะขอคืน หากเกษตรกรคืนและเข้าร่วมโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ มาอยู่ในพื้นที่ คทช. และป่าข้างบน ก็จะส่งเสริมในพื้นที่ข้างล่างให้โอกาสปลูกกัญชงโดยจะสนับสนุนพื้นที่ปลูกให้ 3-5 ไร่ โดยจะอาศัยเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสร้างป่าสร้างรายได้ในการดำเนินโครงการ” ผอ.ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 สาขาแม่ฮ่องสอน กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา กล่าวว่า พันธุกรรมและสายพันธุ์กัญชงพื้นเมืองของไทยคือ ทรัพยากรชีวภาพที่มีมูลค่าประเมินไม่ได้ เป็นฐานสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมกัญชงของประเทศ ซึ่งบริษัทได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในการวัยสร้างมาตรฐานสายพันธ์กัญชงให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์แต่ละด้าน มีปริมาณสาร THC ตามกฎหมายกำหนด และบริษัทยังเพราะจุดกำหนดนโยบายให้กลุ่มเกษตรมีส่วนร่วมในการดูแลและร่วมคัดสายพันธุ์กำเนิดของการรวบรวมกัญชงเริ่มต้นขึ้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจะเป็นพื้นที่ในการส่งเสริมการเพาะปลูกต่อไป ซึ่งจะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้จากพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ อีกทั้งยังช่วยคืนพื้นที่ป่าที่บริษัทได้มีข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 สาขาจังหวัดแม่ฮ่องสอนอีกด้วย
นายพีระพล มาวาตาริ ประธานกรรมการ บริษัท วี โค จำกัด กล่าวว่า วี อีโค ได้สนับสนุนและร่วมมือวิจัยพัฒนาสายพันธ์กัญชงพันธุ์ไทยพื้นเมือง กับ บริษัท ไทยเฮมพ์ เวลเนส จำกัด เพื่อนำสารสกัดไปใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของบริษัทฯ คาดว่าจะได้รับผลตอบรับที่ดี อีกทั้ง วี โค ยังเป็นบริษัทนำร่องในการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และดำเนินธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมตลอดมา กัญชงนับเป็นพืชเศรษฐกิจ หรือขุมทรัพย์สมุนไพร ที่สร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิต สร้างความยั่งยืน ฟื้นฟูสู่เศรษฐกิจ สังคม ผืนป่า สิ่งแวดล้อมและองค์กรธุรกิจของไทยได้เป็นอย่างดี พร้อมกับนำร่องโดยการใช้กัญชงและคริปโตเคอร์เรนซี “WE ECO TOKEN” ซึ่งเป็น ยูทิลิตี้พร้อมใช้ อยู่ในระบบ Pancakeswap ที่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการของบริษัทเครือข่ายได้อีกด้วย เพราะวัตถุประสงค์ของบริษัททำเพื่อสิ่งแวดล้อมตลอดมา
สำหรับผู้ที่สนใจสารสกัดซีบีดี (CBD และผลิตภัณฑ์จากกัญชง หรือพัฒนาสายพันธุ์ร่วมกับบริษัทฯ สามารถติดต่อกับทาง บริษัท ไทย เฮมพ์ เวลเนส จำกัด CONTACT0619262466 Line at : @thaihempwellness
เรื่องมาใหม่
- AIS ผนึก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจไซเบอร์เปิด “มาตรการระเบิดสะพานโจร” บุกรวบจีนเทา พร้อมเครื่องส่ง SMS ปลอม
- เชียงราย จัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบกลไกเครือข่ายทีมสหวิชาชีพด้านเด็กและเยาวชน
- (คลิป) ตำรวจแม่จัน เชียงราย จับสึกพระเมาเหล้าขอปัจจัย
- เจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน อนุโมทนา “ปิดเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยกองมู ( ลอยกระทงสวรรค์) ประจำปี 2567”
- “น้องโบว์ลิ่ง” คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดหนูน้อยนพมาศเมืองยวมใต้ ประจำปี 2567