นักวิชาการ สสจ.เชียงใหม่ เผยเชื้อไวรัสโควิด แม้ว่าจะมีเชื้ออยู่ในน้ำ แต่การแพร่ระบาดคงเป็นเรื่องยากเพราะน้ำมีปริมาณมากกว่าเชื้อ หากอยู่บนแบงค์ธนบัตรอาจแพร่กระจายได้ง่ายกว่า วิธีป้องกันล้างมือบ่อยๆ เพราะตัวเชื้อเมื่อเจอความความร้อน และอยู่ในสภาพอากาศแห้งแล้งก็ตายได้
10 มี.ค. 63 : ชาวเชียงใหม่หวาดผวาเรื่องสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 โดยเฉพาะมีกระแสเรื่องเทศกาลสงกรานต์เข้ามาเกี่ยวข้องว่าจะป้องกันโรคอย่างไร รวมถึงทางเทศบาลนครเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงใหม่ ยืนยันจะจัดเทศกาลสงกรานต์อยู่หรือไม่
ดร.ทรงยศ คำชัย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ไวรัสโควิด 19 เป็นไวรัสชนิดใหม่ที่คนทั่วโลกยังไม่มีภูมิคุ้นกัน แต่จากการศึกษาไวรัสโรคเมอร์ ไวรัสโรคซาร์ ที่แพร่ระบาดก่อนหน้านี้ ก็เป็นไวรัสโคโรนาเช่นเดียวกัน โดยฐานข้อมูลที่ทำการศึกษานั้น มีพบว่าการกักโรค 14 วันเป็นการกักเพื่อรอดูอาการ และไม่ให้โรคแพร่ระบาดในพื้นที่ หากพ้นกำหนด 14 วันก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ และในกรณีที่พบว่ามีผู้ป่วยที่พบว่านานถึง 20 กว่าวันแสดงอาการนั้นเป็นเพียงแค่ 0.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และการรายงานก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร แต่มาตรฐานที่ตรวจพบปัจจุบันคือระยะเวลา 14 วัน เรื่องที่คนกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคไวรัสโควิด 19 ในห้วงเทศกาลสงกรานต์จะมีการแพร่ระบาดในน้ำได้หรือไม่
ดร.ทรงยศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การแพร่ระบาดในน้ำนั้น ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อศึกษาที่ชัดเจน แต่จากลักษณะของเชื้อไวรัสโควิด เมื่อเจออากาศร้อนก็จะตายไปเองภายในระยะเวลาประมาณ 30 นาที แต่หากอยู่ในที่ชื้นก็อาจจะมีระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น แต่การแพร่ระบาดของเชื้อยังมาจากสารคัดหลั่งคือ การไอ จาม และน้ำลาย ดังนั้น ในน้ำหากเป็นสระว่ายน้ำที่ผสมน้ำคลอรีนที่เป็นสารฆ่าเชื้ออยู่แล้วก็ถือว่าปลอดภัย ในแหล่งน้ำเช่นคูเมืองเชียงใหม่ ที่นักท่องเที่ยวใช้เล่นน้ำสงกรานต์ องค์ประกอบของความเป็นกรด เป็นด่าน และปริมาณน้ำที่มีอยู่จำนวนมาก ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เชื้อแพร่กระจายได้ แม้จะมีเพิ่มแต่ก็ไม่ถือว่าเป็นการกระจายของโรค เนื่องจากมีน้ำมากกว่าจำนวนเชื้อ และเมื่อถูกความร้อนเชื้อก็ตายอยู่แล้ว ประกอบกับทุกปีทางเทศบาลนครเชียงใหม่ จะมีการเติมสารคลอรีนฆ่าเชื้อในน้ำคูเมืองไว้อยู่แล้ว เพื่อให้น้ำสะอาดมากยิ่งขึ้น ก็เชื่อว่าไม่สามารถที่จะกระจายได้ และหากใครเป็นกังวล หลังจากเล่นน้ำสงกรานต์เสร็จ ก็อาบน้ำ ล้างตัวด้วยสบู่ ทำความสะอาดร่างกายก็ป้องกันได้ และคอยสังเกตอาการตนเองหากพ้น 14 วันก็ไม่ถือว่าเป็นอะไร หรือไม่แสดงอาการอะไรเลย ก็ถือว่าปลอดภัย
เมื่อสอบถามถึงเชื้อไวรัสโควิด หากอยู่บนแบงค์ธนบัตรจะแพร่กระจายได้ง่ายกว่าหรือไม่ หากพูดถึงเชื้อไวรัสโควิด การแพร่กระจายก็มาจากสารคัดหลั่ง ไอ จาม และน้ำลาย ตราบใดที่ผู้มีเชื้อได้ไอ จาม แล้วนำมือไปปิดปาก เช็ดจมูก หรือโดนน้ำลาย แล้วนำมาจับธนบัตร เมื่อนำไปซื้อของพ่อค้า แม่ค้าที่รับมา หรือผู้ประกอบธุรกิจสปา ธุรกิจที่ต้องเกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว ไปจับ หากไม่นำมือไปโดนบริเวณปาก จมูก หรือใกล้กับดวงตา ก็ไม่เป็นไร เมื่อจับธนบัตรแล้ว ก็ควรที่จะล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือล้างสบู่ ก็สามารถป้องกันได้ หรือหากใครที่บอกว่า หากนำเงินใส่ไว้ในกระเป๋าแล้ว จะมีเชื้อสะสมหรือไม่ ข้อนี้ก็ยังไม่มีการยืนยันชัดเจน แต่ก็อาจจะมีความเป็นไปได้ หรือหากใครกลัวก็นำกระเป๋าไปตากแดด หรือเช็ดด้วยแอลกฮอล์ก็ได้ แต่คงไม่มีใครนำแอลกอฮอล์ไปพ่นธนบัตรได้ทุกใบ ทุกครั้งเวลาที่จับ ดังนั้น วิธีที่ง่ายที่สุดคือล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ หรือสบู่บ่อยๆ เวลาจับสิ่งของต่างๆ ก่อนที่จะรับประทานอาหาร และไม่ควรนำมือมาเช็ดปาก จมูก และบริเวณใกล้ดวงตา หากยังไม่ได้ทำความสะอาดมือ ก็จะเป็นการป้องกันได้
เรื่องมาใหม่
- AIS ผนึก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจไซเบอร์เปิด “มาตรการระเบิดสะพานโจร” บุกรวบจีนเทา พร้อมเครื่องส่ง SMS ปลอม
- เชียงราย จัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบกลไกเครือข่ายทีมสหวิชาชีพด้านเด็กและเยาวชน
- (คลิป) ตำรวจแม่จัน เชียงราย จับสึกพระเมาเหล้าขอปัจจัย
- เจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน อนุโมทนา “ปิดเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยกองมู ( ลอยกระทงสวรรค์) ประจำปี 2567”
- “น้องโบว์ลิ่ง” คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดหนูน้อยนพมาศเมืองยวมใต้ ประจำปี 2567